๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะบริหาร และพนักงาน บริษัท เรซซิ่ง สปิริต จำกัด

สํานักพระราชวังขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ผ่านระบบออนไลน์ที่ เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ https://wellwishes.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๖

วันเข้าพรรษา ๒๕๖๖ ตรงกับวันพุธที่ ๒ สิงหาคม หรือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

วันเข้าพรรษา ๒๕๖๖ ตรงกับวันพุธที่ ๒ สิงหาคม หรือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

เข้าพรรษา แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน

วันอาสาฬหบูชา ๒๕๖๖

วันอาสาฬหบูชา ๒๕๖๖ ปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๑ สิงหาคม ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตามจันทรคติ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี

TSS Library – สารต้องห้ามทางการกีฬา

WADA คืออะไรและมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ?

WADA มีการบริหารจัดการในระดับภูมิภาค โดยกระจายอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งเป็นองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งชาติ หรือมีชื่อย่อว่า NADO และในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา : Doping Control Agency of Thailand หรือ DCAT ขึ้น โดยอาศัยความในมาตราของพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาพ.ศ. 2555 โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

กดอ่านต่อตามลิงค์นี้ได้เลย…สารต้องห้ามทางการกีฬา

การละเมิดกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม

  1. ตรวจพบ
    สารต้องห้ามในตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดของนักกีฬา
  2. การใช้
    หรือพยายามใช้สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม
  3. ปฏิเสธ
    หรือไม่มาให้เก็บตัวอย่างภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  4. ละเมิด
    ข้อกำหนดการแจ้งถิ่นที่อยู่ของนักกีฬา (Whereabouts)
  5. แทรกแซง
    หรือการพยายามแทรกแซงกระบวนการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
  6. ครอบครอง
    สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม
  7. การค้า
    สารต้องห้ามหรืออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับวิธีการต้องห้ามใดๆ
  8. การให้
    หรือพยายามให้สารต้องห้าม หรือวิธีการต้องห้ามแก่นักกีฬา
  9. สนับสนุน
    ส่งเสริมให้นักกีฬาใช้สาร/วิธีการต้องห้าม
  10. เกี่ยวข้อง
    กับบุคคลที่กระทำละเมิดกฏต่อต้านการใช้สารต้องห้าม
  11. การกระทำใดๆของนักกีฬา
    หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาที่เป็นการขัดขวางหรือต่อต้านการรายงานข้อมูลการละเมิดกฎการต่อต้านสารต้องห้ามทางการกีฬาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

TSS Library – การละเมิดกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม

  1. ตรวจพบ
    สารต้องห้ามในตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดของนักกีฬา
  2. การใช้
    หรือพยายามใช้สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม
  3. ปฏิเสธ
    หรือไม่มาให้เก็บตัวอย่างภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  4. ละเมิด
    ข้อกำหนดการแจ้งถิ่นที่อยู่ของนักกีฬา (Whereabouts)
  5. แทรกแซง
    หรือการพยายามแทรกแซงกระบวนการควบคุมการใช้สารต้องห้าม

กดอ่านต่อตามลิงค์นี้ได้เลย…การละเมิดกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม

The Fair Game … ศึกที่ดีไม่ควรมี “สิ่งต้องห้าม” (Part 1)

ขึ้นชื่อว่า “การแข่งขัน” สำหรับกีฬาทุกประเภท สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันก็คือ “ชัยชนะ” อันเป็นเป้าหมายสูงสุด ภายใต้ “กฎ และกติกา” ที่ต้องผู้เข้าแข่งขันต้องทำการ “เคารพ” เพื่อให้เกิดความ “เท่าเทียม” โดยชอบธรรม … และ “มอเตอร์สปอร์ต” ก็ถือได้ว่าเป็นกีฬาที่มีความเข้มงวดของ “กฎ และกติกา” ในระดับสูง ทั้งยังไม่ได้กำหนดมาเพื่อ “อุปกรณ์” เท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมในส่วนของ “นักกีฬา” ด้วยเช่นกัน
เพราะนอกจาก “อุปกรณ์” ที่เป็นตัวกำหนดเรื่องความปลอดภัยแล้ว อีกหนึ่งประเด็นสำคัญก็คือ “สารกระตุ้น” ที่มีคุณสมบัติในการยกระดับขีดความสามารถของนักกีฬาให้ “เหนือกว่าปกติ” เพื่อแข่งขัน และคว้าชัยชนะ จนมองข้ามสิ่งที่ต้องแลกมา ไม่ว่าจะเป็นอนาคต, ชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งชีวิตของตัวเองที่อาจถูกทำลายลงไปก็ตาม
ฉะนั้นในบทนี้ เราจึงขอนำเสนอ “สารต้องห้าม” และ “วิธีการต้องห้าม” ต่างๆ แห่งวงการกีฬา ที่มีผลข้างเคียงอันตรายต่อร่างกายว่ามีอะไรบ้าง โดยเริ่มจาก “สารต้องห้าม” ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย กลุ่มแรก “สารต้องห้าม ที่ห้ามใช้ตลอดเวลา” เช่น


– สารที่ยังไม่ผ่านการรับรอง (Non-Approved Substance)
– สารอนาบอลิก (Anabolic Agents) เป็นสารที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ ใช้ในกีฬาประเภทที่ต้องการพลังกล้ามเนื้อมาก ส่วนผลข้างเคียง คือ ทำให้อารมณ์แปรปรวน, ฉุนเฉียว และสร้างอันตรายต่อร่างกาย เช่น มะเร็งตับ, ตับแข็ง, โรคหัวใจ ตลอดจนสมรรถภาพทางเพศ
– สารฮอร์โมนเปปไทด์ (Peptide Hormones) และฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต คือ สารที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาได้ เช่น EPO (Erythropoietin) ที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง ส่วนผลข้างเคียงของการใช้ EPO ก็อาจทำให้เลือดมีความเข้มข้น และเหนียวขึ้น จนส่งผลให้หัวใจทำงานหนักในการพยายามสูบฉีด แล้วก็ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ตามมาเช่นกัน ทั้งการเจริญเติบโตไม่สมส่วนของหน้าผาก, คิ้ว, กะโหลก และกราม ขณะที่ส่วนของตับ, ต่อมไทรอยด์ และการมองเห็นถูกทำลาย ไปจนถึงทำให้หัวใจโต และนำไปสู่สภาวะหัวใจล้มเหลวได้
– สารเบต้า-ทู อโกนิสท์ (Beta-2 Agonists) เป็นสารกระตุ้นในรูปแบบยารักษาโรคหอบหืด หรือระบบทางเดินหายใจที่ใช้พ่นเข้าไปในลำคอ ซึ่งนักกีฬาที่มีประวัติป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ จะต้องผ่านการขออนุญาตใช้สารเพื่อรักษา และก็จะอนุญาตเป็นชนิดฉีดพ่นเข้าลำคอ แถมท้ายสุดแล้วก็ต้องอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินกำหนดเท่านั้น
– สารปรับเปลี่ยนฮอร์โมน และเมตาบอลิสมของร่างกาย (Hormone And Metabolic Modulators) โดยการใช้สารต้องห้ามกลุ่มนี้ จะส่งผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ
– ยาขับปัสสาวะ และสารปกปิดอื่นๆ (Diuretics And Masking Agent) เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ยาที่ใช้ควบคุมน้ำหนัก ด้วยการลดปริมาณน้ำในร่างกาย ส่วนใหญ่มักใช้ในกีฬาที่มีการแบ่งน้ำหนัก โดยผลข้างเคียงก็คือทำให้ร่างกายขับเกลือแร่มากขึ้นจนร่างกายขาดน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวในกล้ามเนื้อ มีภาวะเพลียแดด และอาจทำให้หมดสติได้ เนื่องจากร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน

TSS Library – The Fair Game … ศึกที่ดีไม่ควรมี “สิ่งต้องห้าม” (Part 1)

ขึ้นชื่อว่า “การแข่งขัน” สำหรับกีฬาทุกประเภท สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันก็คือ “ชัยชนะ” อันเป็นเป้าหมายสูงสุด ภายใต้ “กฎ และกติกา” ที่ต้องผู้เข้าแข่งขันต้องทำการ “เคารพ” เพื่อให้เกิดความ “เท่าเทียม” โดยชอบธรรม … และ “มอเตอร์สปอร์ต” ก็ถือได้ว่าเป็นกีฬาที่มีความเข้มงวดของ “กฎ และกติกา” ในระดับสูง ทั้งยังไม่ได้กำหนดมาเพื่อ “อุปกรณ์” เท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมในส่วนของ “นักกีฬา” ด้วยเช่นกัน
เพราะนอกจาก “อุปกรณ์” ที่เป็นตัวกำหนดเรื่องความปลอดภัยแล้ว อีกหนึ่งประเด็นสำคัญก็คือ “สารกระตุ้น” ที่มีคุณสมบัติในการยกระดับขีดความสามารถของนักกีฬาให้ “เหนือกว่าปกติ” เพื่อแข่งขัน และคว้าชัยชนะ จนมองข้ามสิ่งที่ต้องแลกมา ไม่ว่าจะเป็นอนาคต, ชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งชีวิตของตัวเองที่อาจถูกทำลายลงไปก็ตาม
ฉะนั้นในบทนี้ เราจึงขอนำเสนอ “สารต้องห้าม” และ “วิธีการต้องห้าม” ต่างๆ แห่งวงการกีฬา ที่มีผลข้างเคียงอันตรายต่อร่างกายว่ามีอะไรบ้าง โดยเริ่มจาก “สารต้องห้าม” ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย กลุ่มแรก “สารต้องห้าม ที่ห้ามใช้ตลอดเวลา” เช่น

กดอ่านต่อตามลิงค์นี้ได้เลย…The Fair Game … ศึกที่ดีไม่ควรมี “สิ่งต้องห้าม” (Part 1)