Category: TSS LIBRARY

“การกลับมาครั้งยิ่งใหญ่ของ Circuit Zandvoort”

หลังจาก Formula 1 ที่สนาม Circuit de Spa-Francorchamp เมื่อวันอาทิตย์ 29 สิงหาคมที่ผ่านมาได้หยุดทำการแข่งขันอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศนั้น ทำเอาสาวกรถสูตรหนึ่งแอบเสียดายไปตามๆ กัน เป็นผลให้หลายๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยการแข่งขัน Formula 1 สนามต่อไปที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 5 กันยายนนี้ ยิ่งโดยเฉพาะสนามต่อไปที่จะจัดขึ้นนั้นคือสนาม Circuit Zandvoort ซึ่งเป็นการหวนกลับมาจัดครั้งแรกในรอบ 36 ปีของสนามแห่งนี้ด้วยแล้วยิ่งห้ามพลาดโดยประการทั้งปวงครับ มาในวันนี้แอดจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสนาม Circuit Zandvoort กัน เพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนการแข่งขัน Formula 1 ที่กำลังจะเกิดขึ้น

รูปภาพจาก : https://www.enca.com/…/five-talking-points-formula-one…

Circuit Zandvoort ตั้งอยู่ที่เมือง Zandvoort ประเทศเนเธอร์แลนด์ใกล้แนวชายฝั่งของทะเลเหนือ จัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1939 แต่เดิมนั้นเป็นสนามแบบ Street Circuit ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้นายกเทศมนตรีของเมืองนี้ตัดสินใจสร้างสนามการแข่งขันแบบถาวรขึ้นมา ในปี 1946 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง การก่อสร้างสนามแห่งนี้จึงได้เริ่มขึ้น

รูปภาพจาก : https://www.racedepartment.com/…/zandvoort-f1-layout…/

จนกระทั่งวันที่ 7 สิงหาคม 1948 ภายหลังจากที่สนาม Zandvoort แบบถาวรสร้างเสร็จได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกและผู้ที่คว้าแชมป์ของสนามแห่งนี้เป็นคนแรกก็คือ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช” ด้วยรถ Maserati 4CL

รูปภาพจาก : http://www.bangkokclassiccar.com/forum/index.php…

หลังจากนั้นในปี 1952 สนาม Zandvoort ได้บรรจุอยู่ในปฏิทินการแข่งขัน Formula 1 นับแต่นั้นเป็นต้นมาและสิ้นสุดลงในปี 1985 อันเนื่องมาจากระบบการรักษาความปลอดภัยภายในสนามยังไม่ได้มาตรฐาน

รูปภาพจาก : http://www.bangkokclassiccar.com/forum/index.php…

หลังจากที่ Circuit Zandvoort ได้พัฒนาเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้นแล้ว สนามแห่งนี้จึงได้การตอบรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรถยนต์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายรายการ อาทิ the Masters of Formula 3, DTM, A1GP World, ADAC GT Masters, FIA GT3 European Championship, FIA European Formula 3 Championship en Blancpain Sprint Series รวมทั้ง FIA WTCR World Cup จากความสำเร็จในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสนามดังกล่าวทาง Formula 1 ได้ตัดสินใจบรรจุสนาม Zandvoort เป็น 1 ในปฏิทินการแข่งขันอีกครั้งซึ่งจะหวนกลับมาจัดในปี 2020 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นทำให้การแข่งขันถูกยกเลิกไปจึงทำให้ปี 2021 นี้ถือเป็นการกลับมาในรอบ 36 ปีอย่างเต็มรูปแบบแท้จริงของ Circuit Zandvoort

รูปภาพจาก : https://www.formula1.com/…/article.zandvoort… 

Circuit Zandvoort นั้นมีความยาวสนามต่อรอบอยู่ที่ 4.259 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 14 โค้ง มีการวิ่งเป็นแบบตามเข็มนาฬิกา

รูปภาพจาก : https://www.formula1.com/…/information.netherlands…

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.circuitzandvoort.nl/en/consumer/heritage/

https://www.formula1.com/…/2021/Netherlands/Circuit.html

รูปภาพจาก : https://www.motorsport.com/…/why-f1-drivers…/6658711/…

“พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช” ในวันที่ 7 สิงหาคม 1948 ที่สนาม Zandvoort ทรงเป็นผู้ที่คว้าแชมป์ของสนามแห่งนี้เป็นคนแรก

รูปภาพจาก : http://www.bangkokclassiccar.com/forum/index.php…

สุดยอดนักแข่งรถระดับตำนานของโลก

Juan Manuel Fangio สุดยอดนักแข่งรถระดับ
ตำนานของโลก ที่สาวกมอเตอร์สปอร์ตทุกคนต่างยกนิ้วให้!!

รูปภาพจาก : https://www.pinterest.ch/pin/645985140295302555/

Juan Manuel Fangio นักแข่งรถ Formula 1 ชาวอาร์เจนตินาคนนี้อาจไม่ใช่ชื่อที่คุณได้ยินบ่อยนักในปัจจุบันแต่เขาคือ ผู้สร้างประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของการแข่งขัน Formula 1 ในฐานะผู้คว้าแชมป์โลกถึง 5 สมัยภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 ปี ซึ่งเป็นสถิติที่ยืนยาวถึง 46 ปีจนกระทั่ง Michael Schumacher เป็นผู้ทำสถิติคนใหม่

รูปภาพจาก : https://sportslumo.com/…/juan-manuel-fangio-the…/

Fangio เริ่มแข่งขันรถยนต์ครั้งแรกในปี 1938 ในรายการ Turismo Carretera Argentina และได้คว้าแชมป์ในปี 1940 หลังจากนั้นเขาได้ลงทำการแข่งขันในรายการต่างๆ และคว้าแชมป์มาอย่าง
มากมายนับไม่ถ้วน จนกระทั่งปี 1950 เขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน Formula 1 เป็นครั้งแรกในสังกัดทีม Alfa Romeo ซึ่งในขณะนั้นเขาอายุ 39 ปีถือเป็น
นักแข่งที่มีอายุมากที่สุดของรายการ Formula 1

รูปภาพจาก : https://www.motorauthority.com/…/1082982_1954-mercedes…

Fangio สามารถคว้าแชมป์โลกครั้งแรกมาได้ในปี 1951 และ 4 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี 1954 ถึง 1957 นอกจากนี้เขายังเป็นนักแข่งชาวอาร์เจนติน่า
คนเดียวที่ชนะการแข่งขัน Argentine Grand Prix ได้ถึง 4 ครั้งซึ่งถือเป็นนักแข่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด หลังจากนั้นในปี 1958 เขาได้ตัดสินใจเกษียณตัวเองจากการแข่งขันรถยนต์ หลังจากเกษียณแล้ว Fangio ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าสู่ International Motorsports Hall of Fame ในปี 1990 และเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของ Mercedes-Benz ในปี 1995

รูปภาพจาก : https://drivetribe.com/…/formula-1-the-story-so-far…

ขอบคุณข้อมูลจาก https://themoney.co/…/top-10-des-plus-grands-pilotes…/,

https://www.formula1.com/…/hall…/Juan_Manuel_Fangio.html,

https://en.wikipedia.org/wiki/Juan_Manuel_Fangio

รูปภาพจาก : https://www.irishmirror.ie/…/juan-manuel-fangio-6048484

การแข่งขันรถยนต์ประเภท Touring Car ที่ชาวมอเตอร์สปอร์ตไม่ควรพลาด!

การแข่งขันรถยนต์ประเภท Touring Car
ที่ชาวมอเตอร์สปอร์ตไม่ควรพลาด!

รูปภาพจาก : https://www.autocar.co.uk/…/btcc-2019-why-sport-back…

การแข่งขันรถยนต์ประเภท Touring Car เป็นหนึ่งในการแข่งขันรถยนต์ประเภทล้อปิดที่วิ่งอยู่บนทางเรียบ รถยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันประเภทนี้ส่วนมากเป็นรถยนต์ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป โดยนำรถมาดัดแปลงเพื่อให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับการแข่งขัน วันนี้ทาง TSS จึงขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับการแข่งขันรถยนต์รายการ British Touring Car Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันรถยนต์ประเภท Touring Car ที่โด่งดังที่สุดอยู่ขณะนี้กันครับ

รูปภาพจาก : https://suspensionsecrets.co.uk/btcc-touring-cars/

British Touring Car Championship (BTCC) คือ 1 ในรายการแข่งขันรถยนต์ที่ได้รับความนิยม และมีชื่อเสียงระดับโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีใน
ประเทศเครือสหราชอาณาจักรตั้งแต่ยุค 1958

รูปภาพจาก : https://www.gtplanet.net/a-british-touring-car…/

เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมาทาง BTCC ได้ประกาศให้ทีมแข่งสามารถนำเทคโนโลยีไฮบริดมาใช้ในการแข่งขันได้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2022 นี้

รูปภาพจาก : https://www.goodwood.com/…/7/2021-btcc-calendar-revealed/

ถือเป็นการแข่งขันที่ได้รับความสนใจจากค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Alfa Romeo, Audi, BMW, Ford, Honda, Mazda, Nissan, Peugeot, Renault, Toyota, Vauxhall และ Volvo

รูปภาพจาก : https://www.autocar.co.uk/…/top-10-btcc-drivers-2016…

ถือเป็นรายการแข่งขันรถยนต์ประเภท Touring Car ระดับโลกรายการแรกที่นำเทคโนโลยีนี้บรรจุอยู่ในการแข่งขัน

รูปภาพจาก : https://www.goodwood.com/…/2021/6/2022-btcc-calendar/

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.btcc.net/about

รูปภาพจาก : https://www.goodwood.com/…/2021/6/2022-btcc-calendar/

ซาอุฯ เตรียมจัดใหญ่…..เนรมิตเมือง

ซาอุฯ เตรียมจัดใหญ่…..เนรมิตเมือง และชายหาดให้กลายเป็นสนามแข่งรถ Formula 1 แบบ Street Circuit ที่ใช้ความเร็วสูงที่สุดในประวัติศาสตร์!! #TSSNews

รูปภาพจาก : https://www.motorsportweek.com/…/saudi-gp-circuit-will…/

สิ่งที่ชาวมอเตอร์สปอร์ตทุกคนรอคอยได้มาถึงแล้ว…..กับสนาม Jeddah Street Circuit ที่บรรจุอยู่ปฏิทินการแข่งขันของ Formula 1 เป็นครั้งแรกในชื่อรายการ Saudi Arabian Grand Prix ณ เมือง Jeddah ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 3-5 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบ Night Race

รูปภาพจาก : https://tilke.de/…/saudi-arabian-gp-at-the-jeddah-f1…/

สนาม Jeddah Street Circuit แห่งนี้จะทอดตัวไปตามแนวชายหาดที่สวยงามของทะเลแดง ห่างจากใจกลางเมือง Jeddah ไปทางเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร โดยมีความยาวรอบสนามอยู่ที่ 6.175 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 27 โค้ง เป็นการวิ่งแบบทวนเข็มนาฬิกา

รูปภาพจาก : https://www.arabnews.com/node/1917246/sport

ถือเป็นสนามที่มีระยะทางยาวที่สุดเป็นอันดับ 2 ในปฏิทินการแข่งขัน Formula 1 ของฤดูกาล 2021 ด้วยความเร็วเฉลี่ยมากกว่า 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (จากการคาดการณ์ของ Simulations) ซึ่งนับเป็นการแข่งขันแบบ Street Circuit ที่ใช้ความเร็วสูงที่สุดก็ว่าได้

รูปภาพจาก : https://twitter.com/wearetherace/status/1430797755635621892

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.formula1.com/…/2021/Saudi_Arabia/Circuit.html,

https://www.formula1.com/…/article.first-look-fastest…

รูปภาพจาก : https://twitter.com/wearetherace/status/1430797755635621892

Standing Start และ Rolling Start

โดยปกติแล้วการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบนั้นจะมีการปล่อยตัวหรือออกสตาร์ททั้งหมด 2 แบบด้วยกัน
นั่นคือ Standing Start และ Rolling Start วันนี้ TSS จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกันครับ
#TSSNiceToKnow

• Standing Start

Standing Start คือ การปล่อยตัวจากกริดสตาร์ทในขณะที่รถแข่งจอดหยุดนิ่ง โดยตำแหน่งการออกสตาร์ทนั้นได้มาจากผลการจับเวลารอบคัดเลือก (Qualifying) เมื่อใดที่ไฟสัญญาณปล่อยตัวทั้ง 5 ดวงดับลง รถแข่งจะรีบเร่งทะยานออกจากกริดของตัวเองเพื่อชิงอันดับที่ดีที่สุดก่อนเข้าสู่โค้งแรกของสนามแข่ง ถือเป็นการปล่อยตัวที่เราคุ้นตากันมากที่สุด ซึ่งก่อนออกตัวนั้นรถแข่งแต่ละคันจะต้องจอดอยู่ในตำแหน่งกริดสตาร์ทของตัวเอง ไม่จอดออกนอกเส้นที่กำหนดไว้ (Grid Boxes) และที่สำคัญ คือ ห้ามออกตัวก่อนการแข่งขันเริ่มขึ้น หรือไฟสัญญาณปล่อยตัว 5 ดวงดับลง หากเกิดเหตุการณ์ออกตัวก่อนการแข่งขัน (Jump Start) ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้รับบทลงโทษตามกฎ

กติกาที่กำหนดไว้ ในการแข่งขัน Thailand Super Series รุ่นที่ปล่อยตัวแบบ Standing Start คือรุ่น
Thailand Super Pickup และ Thailand Super Eco

• Rolling Start

Rolling Start คือ การปล่อยตัวในขณะที่รถแข่ง
กำลังวิ่งอยู่ ก่อนที่จะทำการ Rolling Start นั้น รถแข่งทุกคันจะต้องตั้งแถวโดยเรียงตามอันดับเวลาที่เร็วที่สุดจากผลการจับเวลารอบคัดเลือก (Qualifying) เพื่อวิ่งตามรถ Safety Car ถือเป็นการตั้งแถวของรถแข่งก่อนออกสตาร์ทหรือที่เราเรียกว่า Formation Lap นั่นเอง ในขณะที่วิ่งตาม Safety Car อยู่นั้น นักแข่งจะต้องรักษาตำแหน่งของตัวเองไว้และห้ามแซงกันโดยเด็ดขาดจนกระทั่ง Safety Car วิ่งกลับเข้าไปในพิท เมื่อไฟสัญญาณปล่อยตัว 5 ดวงดับลง และนายสนามให้สัญญาณธงเขียว นั่นหมายถึงการแข่งขันได้เริ่มขึ้นแล้ว ในจังหวะนั้น
นักแข่งทุกคนจะกดคันเร่งแบบจมเท้า เพื่อชิงความได้เปรียบตั้งแต่ออกสตาร์ทก่อนที่จะเข้าโค้งแรกกันอย่างดุเดือดตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้การแข่งขันนั้น
ตื่นเต้นเร้าใจมากยิ่งขึ้น

สำหรับการแข่งขันในรายการ Thailand Super Series รุ่นที่ปล่อยตัวแบบ Rolling Start ได้แก่รุ่น
Thailand Supercar GT3,
Thailand Supercar GTM,
Thailand Supercar GTC,
Thailand Touring Car,
Thailand Super Compact
และ Thailand Super Production

Thailand Supercar GTC ก่อนการออกสตาร์ทแบบ Rolling Start

Thailand Super Compact และ Thailand Super Production ก่อนการออกสตาร์ทแบบ Rolling Start 

สามารถดูเนื้อหาสัญญาณไฟของการปล่อยตัวในแต่ละรุ่นได้ที่ https://fb.watch/7AsgRaR8b0/ 

Thruxton Circuit

Thruxton Circuit ตั้งอยู่ในเมือง Hampshire ประเทศอังกฤษ ได้รับการขนานนามให้เป็น “สนามแข่งที่เร็วที่สุดในสหราชอาณาจักร” แต่เดิมนั้นเป็นสนามบินของกองทัพอากาศสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งปี 1952 ได้มีการจัดการแข่งขันรถยนต์ขึ้น แต่หลังจากนั้นเพียงแค่ 1 ปีการแข่งขันรถยนต์ได้ล้มเลิกไปเนื่องจากสภาพพื้นผิวของสนามนั้นทรุดโทรมเป็นอย่างมาก จนในปี 1968 Thruxton Circuit ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาใหม่ทำให้การแข่งขันรถยนต์กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง

รูปภาพจาก : https://slotracer.online/racing-greens/tracks-m-z.php

Thruxton Circuit มีระยะทางต่อรอบอยู่ที่ 3.792 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 11 โค้ง การวิ่งเป็นแบบตามเข็มนาฬิกา

รูปภาพจาก : https://www.flickr.com/photos/20998733@N04/3378663590

ซึ่งการแข่งขัน British F4 R.16-18 จะจัดขึ้น ณ สนามแห่งนี้ ในวันที่ 28-29 สิงหาคม มาร่วมลุ้น ร่วมเชียร์ “น้องเติ้น ทัศนพล อินทรภูวศักดิ์” ไปพร้อมๆ กันผ่านทาง Facebook Fanpage : Thailand Super Series

ขอบคุณข้อมูลจาก http://fiaformula4.com/calendar/https://www.fia.com/circuit-safetyhttps://thruxtonracing.co.uk/

รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/AAS-Motorsport-1870717249844463/photos/2895960380653473

ทำความรู้จักกับกีฬา “Motorsport”

Motorsport หนึ่งในกีฬาท้าความเร็วที่มีเสน่ห์สุดเร้าใจ และชวนตื่นเต้น อันที่จริงแล้ว Motorsport ไม่ได้หมายถึงการแข่งขันของรถยนต์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เป็นกีฬาที่รวมถึงทุกชนิดของยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์เป็นตัวหลักในการขับ
เคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เครื่องบิน รถจักรยานยนต์ แม้กระทั่งเรือ แล้วคุณรู้หรือไม่ว่ากีฬาชนิดนี้มีการแข่งขันกี่ประเภท และอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับกีฬา Motorsport นี้กัน #TSSNiceToKnow

“การแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์”

คือ การแข่งขันที่เน้นเฉพาะรถ 2 ล้อ หรือรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น รูปแบบการแข่งขันมีทั้งทางฝุ่น ได้แก่รายการ Dakar Rally, MXGP, Enduro, Trial Bike และการแข่งขันทางเรียบอย่าง Endurance World Champion, World Superbike สำหรับรายการที่โด่งดังที่สุด คือ MotoGP ซึ่งในปัจจุบันแบ่งออกได้ถึง 3 รุ่น คือ MotoGP, Moto 2 และ Moto 3

รูปภาพจาก : https://www.bangkokpost.com/…/motogp-hopes-for…

การแข่งขันทางฝุ่น Dakar Rally

รูปภาพจาก : https://www.dailysabah.com/…/sand-heat-and…/images

การแข่งขันทางเรียบ Endurance World Champion

รูปภาพจาก : https://www.roadracingworld.com/…/world-endurance-bmw…/

“การแข่งทางน้ำ”

เรียกว่า F4 Powerboat เรือที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นจะมีความเพรียวบาง เพื่อให้ต้านลมได้น้อยที่สุด ลักษณะจึงจะคล้ายคลึงกับเรือดำน้ำที่ขึ้นมาวิ่งบนพื้นผิวของน้ำจริงได้ จึงถือว่าเป็นหนึ่งในกีฬา
มอเตอร์สปอร์ตทางน้ำที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจได้เป็นอย่างดี

รูปภาพจาก : https://www.f1h2o.com/gallery/2018/grand-prix-of-france

การแข่งทางน้ำ F4 Powerboat

รูปภาพจาก : https://adimsc.ae/news

“การแข่งขันทางอากาศ Air Race 1 หรือเครื่องบินสูตร 1”

เป็นการแข่งขันทางอากาศที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยจะเน้นการแข่งที่ให้ความเร็วที่สุด มากถึง 450 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่าการแข่งขัน Formula 1 และ MotoGP การแข่งขันในระดับโลกเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 ที่ประเทศฝรั่งเศส แต่สำหรับในประเทศไทยได้เริ่มต้นการแข่งขันและเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหนึ่งในโครงการดึงดูดนัก
ท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น

รูปภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Air_racing

การแข่งขันทางอากาศ หรือการแข่งขัน Air Race 1 หรือเครื่องบินสูตร 1

รูปภาพจาก : https://skiesmag.com/…/air-race-1-launches-host-city…/

การแข่งขันทางอากาศ หรือการแข่งขัน Air Race 1 หรือเครื่องบินสูตร 1

รูปภาพจาก : https://auto.mthai.com/motorsport/46959.html

ที่มาข้อมูล : https://sportyrelax.com/…/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%80…/

• Circuit เป็นการแข่งแบบรอบสนาม โดยจำนวนรอบหรือเวลาเป็นตัวตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันจะจัดขึ้นในสนามที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากลเป็นหลัก การแข่งประเภทนี้จะมีหลากหลายรายการ และเป็นที่นิยมกันทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เป็นการแข่งขันรถยนต์ในสนามแข่งที่สร้างขึ้นอย่างถาวร หรือเฉพาะกิจบนผิวทางแข่ง (Track) ที่เรียบแข็ง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้
สมาธิ ประสบการณ์ รวมทั้งไหวพริบและทักษะเฉพาะตัวในการแข่งขันอย่างสูง รายการแข่งขันที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ Formula 1, NASCAR หรือในบ้านเราก็คือ Thailand Super Series, Toyota Gazoo Racing Motorsport

รูปภาพจาก : Thailand Super Series 2017
https://www.facebook.com/media/set/… 

• Drift เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น และนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นการแข่งรถที่ทำให้รถเสีย
อาการ ลื่นไถลไปตามมุมองศาต่างๆ ตามแนวโค้ง แต่ยังสามารถควมคุมได้ ไม่เน้นความแรงในทางตรง และการไปให้ถึงเส้นชัยเป็นอันดับแรก แต่จะตัดสินที่การเข้าโค้งอย่างสวยงาม ลูกเล่นต่างๆ หรือความเร็วตอนเข้าโค้ง รวมทั้งควบคุมไม่ให้รถหลุด
ออกจากโค้ง ส่วนใหญ่จะใช้รถที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลังหรือขับคลื่อนสี่ล้อ เนื่องจากความเหมาะสมของการถ่ายเทน้ำหนักและพละกำลังของรถ รถแข่งชนิดนี้จะเน้นไปที่แรงบิดของเครื่องยนต์กับช่วงล่างที่ต้องทำมาเป็นพิเศษ ผู้ขับขี่ต้องใช้ประสบการณ์และทักษะในการขับขี่ พร้อมการใช้ความคิดในการ
วิเคราะห์ และเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ให้กับรถเพื่อชนะ
คู่แข่ง

รูปภาพจาก : https://news.formulad.com/…/formula-drift-top-10-from…/

• Drag เป็นการแข่งรถทางตรงในระยะทาง 402.34 หรือที่เรียกกันว่า “ควอเตอร์ไมล์” โดยใช้นาฬิกาดิจิทัลเป็นตัวจับเวลา ผู้ที่เข้าเส้นชัยก่อนหรือใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนดไว้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ หัวใจหลักของการแข่งแบบนี้คือ กำลังของเครื่องยนต์ รวมถึงการชิงจังหวะวัดไหวพริบของ
นักแข่ง เริ่มกันตั้งแต่การเหยียบคันเร่งออกตัว ไปจนถึงการเข้าเกียร์ในจุดที่เหมาะสม เพื่อรีดพละกำลังของเครื่องยนต์ให้มากที่สุด เป็นการแข่งที่นิยมมากทั้งในอเมริกาและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

รูปภาพจาก : https://www.brainerddispatch.com/…/4311434-nhra-theres…

• Rally คือ การแข่งทางฝุ่นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นการแข่งในรูปแบบที่ไม่จำกัดลักษณะพื้นผิวถนน ผู้ที่ทำเวลาจากจุดเริ่มต้นไปถึงเส้นชัยในเวลาน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ส่วนใหญ่มักนิยมแข่งขันบนเส้นทางทั่วไป เช่น ทางวิบากตามธรรมชาติ ทางสาธารณะบนเขาหรือภายในป่า ที่เหมาะสมสำหรับการแข่งขัน นอกจากนักแข่งหรือผู้ขับ (Driver) แล้วจะมีผู้บอกเส้นทาง หรือ เนวิเกเตอร์ (Co-Driver) นั่งคู่ไปกับผู้ขับด้วย เพื่อป้องกันการขับผิดเส้นทาง และชี้จุดที่อันตรายในการแข่งขัน ทั้งนี้ก่อนมีการแข่งขัน ผู้จัดฯ จะแจ้งผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันให้ทำการตรวจสอบเส้นทางก่อน โดยรถที่จะเข้าสำรวจเส้นทางการแข่งขันนั้นจะไม่อนุญาตให้รถที่มีแผ่นรองกันกระแทกใต้เครื่องยนต์ หรือแผ่นปิดใต้เครื่องยนต์ (Sump-guard) เข้าสำรวจเส้นทางเด็ดขาด รถที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องทำการปรับแต่งอย่างเต็มรูปแบบสำหรับการแข่งโดยเฉพาะ เนื่องจากการแข่งประเภทนี้เป็นการแข่งขันที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับการแข่งขันประเภทอื่น

รูปภาพจาก : https://toyotagazooracing.com/wrc/release/2021/rd06-preview/

• Gymkhana เป็นการแข่งที่ใช้งบประมาณน้อย นิยมสำหรับนักแข่งที่เริ่มต้นทำการแข่งขันสามารถใช้รถในชีวิตประจำวันเข้าแข่งขันได้ การแข่งขันประเภทนี้เน้นที่การดึงทักษะในการขับหลากหลายประเภทของนักแข่งรวมไว้เข้าด้วยกัน เนื่องจากต้องควบคุมรถไปถึงเส้นชัยให้เร็วที่สุด ภายใต้สนามแข่งที่เต็มไปด้วยทางโค้งแคบหรือสนามแข่งที่มีระยะสั้น (Small Circuit) โดยมีกรวยจราจร (Pylons) เป็นแนวกำหนดเขตของเส้นทาง

รูปภาพจาก : https://funkmotorsport.com/road-gymkhana-grid/

ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://intrend.trueid.net/…/5-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8…

24 Hours of Le Mans

24 Hours of Le Mans ทุกวินาทีในสนาม คือความท้าทาย

รูปภาพจาก : https://monochrome-watches.com/the-petrolhead-corner-the…/

24 Hours of Le Mans อีกหนึ่งสุดยอดการแข่งขันรถยนต์สุดทรหดที่มีประวัติศาสตร์การแข่งขันอย่างต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 1923 ณ เมือง Le Mans ประเทศฝรั่งเศส

รูปภาพจาก : https://hiconsumption.com/history-of-24-hours-of-le-mans/

เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำคัญของทุก
องค์ประกอบและความพร้อมของทุกขีดความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของรถ กลยุทธ์ในการวางแผนของทีม ความแข็งแกร่งของนักแข่งและทีมงาน ตลอด 24 ชั่วโมงที่ต้องฟันฝ่าด้วยแรงกายแรงใจพร้อมเผชิญในสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

รูปภาพจาก : https://dreamactsucceed.blog/…/449-racing-is-life-s4…/

ถือเป็นการแข่งขันที่ทดสอบความทนทานของรถ, นักแข่ง และทีมงานอย่างแท้จริง เพราะนอกจากรถแข่งทุกคันที่ลงสนามจะต้องวิ่งต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงแบบไม่มีหยุดพัก

รูปภาพจาก : https://www.roadandtrack.com/…/2018-le-mans-24-hours…/

ซึ่งกติกาสามารถมีนักแข่ง 3 คนโดยทำหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันขับแล้วนั้น ทางด้านทีมงานต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดีไม่ใช่แค่เฉพาะความเร็วเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการรีดประสิทธิภาพของรถออกมาให้ครบทุกด้านทั้งในเรื่องของเชื้อเพลิง ยาง เบรก ตลอดจนการเซอร์วิสต่างๆ เพื่อทำให้รถแข่งสามารถเข้าเส้นชัยได้จนวินาทีสุดท้าย

รูปภาพจาก : https://www.sportingnews.com/…/a48ippx342u91xped7jjuo4ju

สำหรับการแข่งขัน 24 Hours of Le Mans ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 89 โดยมี “คุณเต๊อะ วุฒิกร
อินทรภูวศักดิ์” ผู้ก่อตั้งทีม AAS Motorsport เป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขัน

รูปภาพจาก : https://www.9carthai.com/porsche-911-rsr/

ซึ่งถือเป็นคนไทยคนที่ 3 ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
24 Hours Le Mans ต่อจาก “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช” ที่ลงทำการแข่งขันเมื่อปี 1939, 1954 และ “คุณต่อ ศรีอาชวนนท์ เกรฟส์” ที่ลงทำการแข่งขันเมื่อปี 2012

รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/…/pcb…/2897857100463801

“คุณเต๊อะ วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์” ลงทำการแข่งขันด้วยรถ Porsche 911 RSR-19 หมายเลข 99 ในรุ่น LMGTE AM ภายใต้สังกัดทีม PROTON COMPETITION พร้อมด้วยทีมเมทฝีมือดี ดีกรีแชมป์อีก 2 คน คือ Florian Latorre และ Harry Tincknell ที่จะมาพิสูจน์ฝีมือการแข่งขันรถยนต์สุดทรหด 24 Hours of Le Mans ครั้งที่ 89 กันในวันที่ 21-22 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่ 21:00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ร่วมส่งแรงเชียร์และแรงใจ พร้อมติดตามข่าวสาร
การแข่งขันได้ที่ Facebook Fanpage : Thailand Super Series
หรือ www.thailandsuperseries.net

รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/…/pcb…/2894925790756932

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.24h-lemans.com/en

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2894926257423552&id=1870717249844463

รูปภาพจาก : https://noequal.co/…/doors-are-closed-for-spectators…/

ทำความรู้จักกับสนาม Knockhill ก่อนส่งแรงเชียร์ไปให้ “น้องเติ้น ทัศนพล อินทรภูวศักดิ์”

ทำความรู้จักกับสนาม Knockhill ก่อนส่งแรงเชียร์ไปให้ “น้องเติ้น ทัศนพล อินทรภูวศักดิ์”
ในการแข่งขัน British F4 R.13-15 ที่สนาม Knockhill วันที่ 14-15 สิงหาคมนี้

Knockhill Racing Circuit ตั้งอยู่ในเมือง Fife ของสหราชอาณาจักร (ประเทศสกอตแลนด์) ถือเป็นสนามแข่งระดับนานาชาติแห่งเดียว รวมทั้งเป็นศูนย์กีฬา Motorsport แห่งชาติของสกอตแลนด์ เปิดตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1974 และต่อมาช่วงระหว่างปี 1974 – 1983 นั้นสนามแห่งนี้ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสนามมาหลายครั้ง จนกระทั่งในปี 1984 สนามแห่งนี้ได้รับการพัฒนาจนถึงจุดที่สามารถจัดการแข่งขันรายการใหญ่ระดับประเทศอย่าง British Touring Car Championships ที่มีการแข่งขันติดต่อกันนานถึง 12 ปี หลังจากนั้นได้รับการปรับปรุงสนามอีกครั้งในปี 2002 ซึ่งทำให้สนามแห่งนี้เป็น 1 ในปฏิทินการแข่งขันรายการ British Formula 3 Championship และ British GT Championship ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา

Knockhill Racing Circuit มีโครงสร้างสนามทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน “International Circuit” มีระยะทางต่อรอบ 2.09 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 9 โค้ง, “National Circuit” มีระยะทางต่อรอบ 1.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 10 โค้ง และ “Tri Oval Circuit” มีระยะทางต่อรอบอยู่ที่ 0.8 กิโลเมตร เป็นสนามที่ได้รับการรับรองทั้งการวิ่งแบบวิ่งตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา

มาร่วมลุ้น ร่วมเชียร์ “น้องเติ้น” ในการแข่งขัน British F4 R.13-15 ที่สนาม Knockhill ได้ในวันที่ 14-15 สิงหาคมนี้ไปพร้อมๆ กันผ่านทาง Facebook Fanpage : Thailand Super Series

รูปภาพจาก : https://www.knockhill.com/Visitor-Information

ขอบคุณข้อมูลจาก http://fiaformula4.com/calendar/https://www.knockhill.com/circuitmap
รูปภาพจาก : https://www.timeattack.co.uk/tag/scotland/