Category: TSS LIBRARY

‘Safety Barrier’ หรืออุปกรณ์ป้องกันในสนาม

‘Safety Barrier’ หรืออุปกรณ์ป้องกันในสนาม
แข่งขัน เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีขึ้นเพื่อรองรับแรงกระแทก อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในสนาม ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบด้วยกัน
วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกันครับ
#TSSNiceToKnow

Guardrail เป็นแผ่นเหล็กชุบสังกะสีที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตแบบ Basic Oxygen Open Heat Electric Furnace ทำให้ราวเหล็กทุกชิ้นมีสภาพที่เรียบร้อยสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น แข็งแกร่ง และมีความต้านทานการสึกกร่อนสูง โดยสามารถชะลอความเร็วของรถที่พุ่งเข้ามาชนได้

รูปภาพจาก : https://twitter.com/f1/status/1131552085835681792

ตามกฎของ FIA นั้น Guardrail การติดตั้งจะต้องเรียงต่อกัน 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะมีช่องว่างได้ไม่เกิน 5 เซนติเมตรเท่านั้น รวมทั้งเสาที่ยึด Guardrail ต้องมีระยะห่างกัน 2 เมตร

รูปภาพจาก : Bangsaen Street Circuit 2019

Concrete Barrier เมื่อรถเสียหลักจนชนเข้ากับตัว Concrete Barrier สิ่งนี้จะสามารถป้องกันไม่ให้รถพุ่งทะลุไปชนกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่บริเวณด้านหลังได้ ซึ่งกฎของ FIA ได้ระบุไว้ว่า Concrete Barrier นั้นจะต้องมีน้ำหนักต่อก้อนไม่ต่ำกว่า 4 ตัน และความยาวต่อก้อนอยู่ที่ 4 เมตร

รูปภาพจาก : https://formulaspy.com/…/zandvoort-banking-is-ready-to…

Tires Stack หรือ กองยาง เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ความปลอดภัยภายในสนาม มีหน้าที่ซับแรงกระแทกจากรถที่พุ่งเข้ามาและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งยางที่นำมาใช้ทุกเส้นจะมีขนาดยางเท่ากันและเป็นยางใหม่ที่ไม่ผ่านการใช้งาน เนื่องจากมียางใหม่มีความนุ่มและยืดหยุ่น ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจะ
สามารถซับแรงกระแทกได้ดีกว่ายางที่ผ่านการใช้งานแล้ว การติดตั้งกองยางนั้นจะนำมาซ้อนกันเป็นชั้นสูงประมาณ 90 ซม. หรือเทียบเท่า Guardrail นำมาจัดรวมไว้เป็นชุดและติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของ Tecpro Barrier หรือยึดไว้กับกำแพง, Guardrail, Concrete Barrier ในจุดที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งบริเวณด้านหน้าของกองยางนั้นจะหุ้มเพิ่มด้วยแผ่นยางเพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนของรถที่พุ่งเข้ามานั้นมียางติดออกไป

รูปภาพจาก : https://twitter.com/f1/status/1035528521425317893?lang=fa

Catching Fence เป็นอุปกรณ์ป้องกันภายในสนามซึ่งติดตั้งในบริเวณที่มีอัฒจันทร์ หรือมีผู้ชมอยู่ด้านหลังอุปกรณ์สิ่งนี้ โดยเน้นความปลอดภัยและไม่บดบังทัศนวิสัยภายในสนาม ตามกฎของ FIA นั้น Catching Fence จะต้องมีความสูงของรั้วจากพื้น
อย่างน้อย 3.5 เมตร และต้องมีรั้วที่ต่อจากด้านบนสุดยาวเพิ่มขึ้นอีก 20 เซนติเมตร ทำมุม 45 องศาเฉียงเข้าไปด้านในสนาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันชิ้นส่วนต่างๆของรถแข่ง เช่น ล้อ หรือ ยางรถยนต์ กระเด็นออกมาโดนผู้ชม ในกรณีรถที่เกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งกำหนดให้อัฒจันทร์ผู้ชมนั้นต้องมีระยะห่างจาก Catching Fence 1.5 เมตร เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย

รูปภาพจาก : Bangsaen Street Circuit 2019

Tecpro Barrier เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยในสนามที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นโดยบริษัทจากประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านความปลอดภัยในสนามแข่งจาก FIA ในปี 2006 ซึ่ง Tecpro Barrier นั้นผลิตจากโพลีเอทิลีนนำมาขึ้นรูป สามารถซับแรงกระแทก รวมทั้งลดความเสียหายต่อตัวนักแข่งและรถได้มากกว่า 40% เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์อื่น นอกจากประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมแล้วยังสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและบำรุงรักษาง่ายอีกด้วย จะสังเกตุได้ว่าในสนามแข่ง เช่น สนามบางแสน สตรีท เซอร์กิตจุดไหนที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการแข่งอยู่บ่อยครั้ง ในจุดนั้นจะมีการติดตั้ง Tecpro Barrier อยู่เป็นจำนวนมาก

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.tecprobarriers.com/

รูปภาพจาก : https://studentmotorsport.com/is-motorsport-to-insular/

Tecpro Barrier ประกอบไปด้วย 3 ชั้น ดังนี้
ชั้นที่ 1 ตัวรับแรงด้านหน้า ภายในอุปกรณ์จะอัดแน่นไปด้วยฟองน้ำ เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเป็นด่านหน้าที่รับแรงกระแทก หลังจากนั้นจะถ่ายแรงไปที่ตัวด้านหลัง
ชั้นที่ 2 ตัวนี้จะซับแรงกระแทกจากชั้นแรก ข้างในไม่มีวัสดุใดๆ มีเพียงอากาศที่อยู่ข้างในเท่านั้น ซึ่งจะมีรูระบายอากาศอยู่ด้านล่าง เมื่อโดนแรงอัดเข้ามาจะใช้หลักการการถ่ายอากาศในการซับแรงกระแทก
ชั้นที่ 3 ตัวรับแรงด้านหลัง ภายในอุปกรณ์จะอัดแน่นไปด้วยฟองน้ำเหมือนกับชั้นที่ 1 ที่กล่าวไป

รูปภาพจาก : Bangsaen Street Circuit 2019

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.fia.com/…/fia_standard_3501-2017_safety…

https://www.fia.com/…/fia_standard_3502-2018_debris…

https://www.tecprobarriers.com/

รูปภาพจาก : Bangsaen Street Circuit 2019

ความแตกต่างของ Supercar และ Hypercar

TSS พาไปชม”ความแตกต่างของ Supercar และ Hypercar” #TSSNiceToKnow

รูปภาพจาก : https://wallpapercave.com/ferrari-and-mclaren-wallpapers

หากพูดถึงรถในฝันของผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลความเร็วคงหนีไม่พ้น Supercar กับ Hypercar อย่างแน่นอน ในความเป็นจริงแล้ว Supercar และ Hypercar นั้นไม่มีนิยามหรือคำจำกัดความอย่างเป็นทางการ แต่กระนั้น TSS ก็ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักและทราบถึงคุณสมบัติที่แตกต่างกันของรถทั้ง 2 ประเภทนี้

รูปภาพจาก : https://www.wallpapertip.com/…/ihbJibb_mclaren-p1-ferrari/

Supercar เป็นรถที่มีรูปทรงสวยงามโฉบเฉี่ยว อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ
เครื่องยนต์, ช่วงล่าง, เทคโนโลยี และมีสมรรถนะสูง ซึ่งมีอัตราเร่ง 0-100 ภายใน 4 วินาที ความเร็วสูงสุดมากกว่า 300 กม./ชม. รถที่จัดอยู่ในกลุ่ม Supercar อาทิเช่น Ferrari 458, Lamborghini Huracan, Audi R8, Porsche 911, Ford GT

รูปภาพจาก : https://www.pinterest.com/jxtoong99/rich-luxury/

Hypercar เป็นรถที่มีรูปทรงล้ำสมัยโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีการผลิตจำนวนจำกัด นับว่าเป็นขั้นกว่าของ Supercar มันคือ Top of the Line สูงที่สุดของ Supercar ของค่ายนั้น Hypercar คือรถที่มีสมรรถนะสูงโดยจะมาพร้อมกับการปรับแต่งที่เหนือชั้นที่สุด รวมถึงเทคโนโลยีเครื่องยนต์ Hybrid ไฟฟ้า-น้ำมัน ทำความเร็วไม่ต่ำกว่า 386 กม./ชม. รถที่จัดอยู่ในกลุ่ม Hypercar ยกตัวอย่างเช่น Bugatti Chiron, Koenigsegg Regera, McLaren P1, Ferrari La Ferrari, Pagani Huayra

รูปภาพจาก : https://blog.dupontregistry.com/…/supercarsunday-2018…/

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.realtimecarmagazine.com/newsite/archives/53416
https://milelimit.com/
http://carvariety.com/supercar-vs-hypercar/

รูปภาพจาก : https://www.motorauthority.com/…/1123696_laferrari-one1..

รูปภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=Mz5PAKmwAqc 

Supercar : McLaren 765LT Spider

รูปภาพจาก : https://www.bangkoksupercar.com/…/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0…

Supercar : LAMBORGHINI HURACÁN STO

รูปภาพจาก : https://www.lamborghini.com/en-en/models/huracan/huracan-sto

Supercar : MASERATI MC20

รูปภาพจาก : https://www.autodeft.com/…/2021-maserati-mc20-supercar…

Hypercar : Bugatti Chiron

รูปภาพจาก : https://www.caranddriver.com/bugatti/chiron

Hypercar : Aston Martin Valkyrie 2021

รูปภาพจาก : https://www.astonmartin.com/…/aston-martin-valkyrie…

Hypercar : Koenigsegg Jesko 2021

รูปภาพจาก : https://www.goodwood.com/…/this-is-the-production-spec…/

Hypercar : Lamborghini Sian 2021

รูปภาพจาก : https://www.autoexpress.co.uk/…/new-lamborghini-sian…

“FCY” คือ?? เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกหรือหมายถึงอะไรกัน?

“FCY” คือ?? เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกหรือหมายถึงอะไรกัน?
#TSSNiceToKnow

ในการแข่งขันรถยนต์ สัญญาณป้ายและสัญญาณธงถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับนักแข่งที่ลงทำการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมการแข่งขัน เนื่องจากเป็นตัวบอกเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในสนาม รวมทั้งเป็นการสื่อสารระหว่างนายสนามกับนักแข่ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในระหว่างการแข่งขันอีกด้วย สัญญาณป้ายและสัญญาณธงเป็นสิ่งที่นักแข่งรถต้องทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

รูปภาพจาก : https://www.as-web.jp/domestic/362316

สำหรับผู้ที่ชมการแข่งขัน การได้ทำความรู้จักกับสัญญาณนั้นช่วยทำให้เกมการแข่งขันมีอรรถรสที่สนุกเพิ่มยิ่งขึ้น สัญญาณธงและสัญญาณป้ายมีหลายแบบด้วยกัน เช่น

• “ธงเขียว” หมายถึง สภาพสนามปกติ สามารถทำการแข่งขันได้

• “ธงดำวงกลมส้ม พร้อมป้ายเบอร์รถ” หมายถึง รถแข่งเบอร์ดังกล่าวมีปัญหา ให้นำรถเข้าพิทในรอบต่อไปเพื่อทำการแก้ไข

• “ธงแดง” หมายถึง การแข่งขันได้ยุติลง ให้นักแข่งหยุดการแข่งขันทันที

• “ธงเหลือง พร้อมป้าย SC” หมายถึง มีอันตรายเกิดขึ้น และมีรถ Safety Car ออกมานำขบวน ซึ่งรถทุกคันต้องชะลอความเร็ว รักษาตำแหน่งเดิมของตนเองไว้ ห้ามแซงโดยเด็ดขาด

รูปภาพจาก : https://www.centralmaine.com/…/auto-racing-wiscasset…/

คุณรู้หรือไม่ว่ายังมีสัญญาณของธงและป้าย ที่ไม่คุ้นตากับการแข่งขันรถยนต์ในบ้านเรา มาวันนี้ TSS จะอาสาพาทุกท่านทำความรู้จักกันครับ สัญญาณที่เราพูดถึงนั้นคือ “ธงเหลือง พร้อมป้าย FCY”

FCY ย่อมาจากคำว่า Full Course Yellow เป็นการแสดงสัญลักษณ์ธงเหลืองรอบสนาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นภายในสนาม และมีสิ่งกีดขวางอาจทำให้เกิดอันตราย แต่เป็นเหตุการณ์ที่สามารถ
คลี่คลายโดยใช้เวลาไม่นาน ทาง Race Director จะประกาศให้นักแข่งทราบผ่านทางวิทยุสื่อสารภายในรถก่อนล่วงหน้าที่จะแสดงสัญญาณนี้

รูปภาพจาก : https://www.motorsport.com/…/fcy-fuji-teething…/6503169/

เมื่อธงเหลืองพร้อมป้าย FCY แสดงขึ้น รถแข่งทุกคันจะต้องลดความเร็วลงให้เหลือไม่เกิน 80 กม./ชม. รักษาระยะห่างจากรถคันหน้าและคันหลังไว้ให้อยู่ในระยะเดิมก่อนที่สัญญาณนี้จะแสดง ห้ามแซงโดยเด็ดขาด เมื่อภายในสนามกลับมาสู่ภาวะปกติแล้วทาง Race Director จะประกาศให้นักแข่งทราบอีกครั้งเพื่อเตรียมตัวเริ่มทำการแข่งขันต่อไป ซึ่งการแข่งขันที่มีสัญญาณธงเหลืองพร้อมป้าย FCY นั้นจะเป็นการแข่งขันรถยนต์ที่ใช้เวลา เป็น Handicap สำหรับนักแข่ง อาทิ รายการ Super GT, GT World Challenge

รูปภาพจาก : https://www.issc-austria.at/…/2-taet…/full-course-yellow

ทำความรู้จักกับ Zolder Circuit ก่อนการแข่งขัน DTM R3

ทำความรู้จักกับ Zolder Circuit ก่อนการแข่งขัน DTM R3

รูปภาพจาก : https://www.hankooktire-mediacenter.com/…/tension…/…

สนาม Zolder หรือสนาม Terlamen เป็นสนามแข่งรถที่ตั้งอยู่ใน Heusden-Zolder ประเทศเบลเยี่ยม สร้างขึ้นในปี 1963 มีความยาวรอบสนามอยู่ที่ 4.011 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 10 โค้ง เป็นสนามแบบวิ่งตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสนามแห่งนี้ได้รับความนิยมจากนักแข่ง และรายการแข่งขันเป็นอย่างมาก เนื่องจากสนามมีเอกลักษณ์ที่คงความดั้งเดิมเอาไว้ อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ

รูปภาพจาก : https://www.visitlimburg.be/…/evenementendomein-circuit…

แต่เดิมเคยบรรจุเป็น 1 ในปฏิทินการแข่งขัน Formula 1 ช่วงทศวรรษที่ 70-80 อยู่ถึง 10 ปี หลังจากนั้นจึงได้ย้ายการแข่งขันไปที่สนาม Circuit de Spa-Francorchamps แทนเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุช่วงระหว่างการ Qualify ขึ้นและทำให้ Gilles Villeneuve นักแข่งชาวแคนาดาต้องจบชีวิตลง

รูปภาพจาก : https://www.f1-fansite.com/…/zolder-circuit-layout…/

ในช่วงต้นปี 2006 สนาม Zolder ทำการปรับปรุงพัฒนาด้านความปลอดภัยในสนาม และได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรายการใหญ่อยู่หลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น World Series by Renault ในปี 2003-2006, Champ Car World Series และ FIA GT Championship ในปี 2007, Masters of Formula 3 ในปี 2007-2008, FIA WTCC Race of Belgium ในปี 2010-2011

รูปภาพจาก : https://motorsportguides.com/circuit-zolder/

และยังมีรายการระดับโลกที่ยังคงจัดการแข่งขันขึ้นที่สนามแห่งนี้อย่างต่อเนื่องจนมาถึงในปัจจุบัน เช่น รายการ 24 Hours of Zolder, American Festival Nascar รวมทั้งรายการ Deutsche Tourenwagen Masters หรือรายการ DTM ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6-8 สิงหาคมนี้

รูปภาพจาก : https://www.racedepartment.com/…/zolder-setups-dry…/

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.dtm.com/en/events/zolder
https://www.circuit-zolder.be/en/the-track/

รูปภาพจาก : https://www.hankooktire-mediacenter.com/…/hankook…/…

ทำความรู้จักกับคำว่า “Teamwork” และหน้าที่ต่างๆ ในทีม

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการแข่งขัน Formula 1 ของสนาม Hungaroring เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา จะเห็นว่าหัวใจหลักของการแข่งขันและการขับเคลื่อนทีมให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เพียงแค่อาศัยนักแข่งที่มีความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และความสามารถของทุกคนในทีมอีกด้วย เพราะทุกคนในทีมนั้นคือ 1 ในฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนให้ทีมนั้นประสบความสำเร็จได้ วันนี้ TSS จะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคำว่า “Teamwork” และหน้าที่ต่างๆ ในทีม

“Teamwork” เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดของทีมแข่งขัน ซึ่งหัวใจหลักๆที่จะนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ คือการพัฒนาทักษะของสมาชิกของทีมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ, การสื่อสาร, การวางแผนล่วงหน้า รวมทั้งการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกอย่างที่กล่าวได้มานั้น ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือ
จากสมาชิกทุกคนภายในทีม ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ภายในทีมแข่งนั้นประกอบไปด้วยหลายส่วน มี
อะไรบ้าง ไปดูกัน..

รูปภาพจาก : https://www.morson.com/…/how-to-become-a-formula-1…

Team Manager

ผู้จัดการทีมมีหน้าที่สำคัญที่ต้องบริหารจัดการ
ภาพรวมของทีมในทุกส่วน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทีมได้รับความสำเร็จสูงสุด ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ผู้จัดการทีมต้องสามารถควบคุมและบริหารเวลาของสมาชิกทุกคนภายในทีมให้สอดคล้องกับตารางเวลาการแข่งขันที่ถูกกำหนดไว้แล้ว อีกทั้งผู้จัดการทีมที่ดีควรมีประสบการณ์ ทักษะความรู้ในเรื่องของกฎ กติกาการแข่งขันเป็นอย่างดี มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์ในการแข่งขัน เพื่อบรรลุถึงความสำเร็จสูงสุด

*บุคคลในภาพจากซ้ายไปขวา Otmar Szafnauer (Racing Point), Christian Horner (Red Bull), Toto Wolff (Mercedes), Cyril Abiteboul (Renault F1 Team), Claire Williams (Williams)

รูปภาพจาก : https://www.formula1.com/…/article.the-tp-gp-who-would…

Driver

นักแข่ง นอกจากจะเป็นพระเอกของทีมแล้ว ยังเป็นตัวแทนของทีมอีกด้วย เพราะขณะที่นักแข่งลงทำการแข่งขันอยู่นั้น ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความสามารถของนักแข่งเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและความพยายามของทุกคนในทีมอีกด้วย นอกจากนี้นักแข่งยังต้องหมั่นฝึกฝนฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ และรักษาร่างกายให้อยู่ในสภาพที่เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงช่วงที่มีการแข่งขัน นักแข่งจะทำงานร่วมกับทีมเพื่อวิเคราะห์และวางแผน
กลยุทธ์สำหรับการแข่งขันที่กำลังจะเกิดขึ้น

รูปภาพจาก : https://www.driving.co.uk/…/moto…/f1-2021-teams-drivers/

Chief Technical หรือ Director Technical

หัวหน้าทีมช่างจะทำงานควบคู่ไปกับผู้จัดการทีมซึ่งจะคอยดูแลในส่วนเชิงปฏิบัติการณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับตัวรถแข่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรถ, การปรับแต่งช่วงล่าง และเครื่องยนต์, การเตรียมรถให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน, ดูแลรถแข่งในระหว่างที่มีการแข่งขัน หัวหน้าทีมช่างจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี รวมถึงศึกษาและเข้าใจลักษณะการขับของนักแข่งแต่ละคนอีกด้วย

*ในภาพบุคคลด้านซ้ายคือ Adrian Newey หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของทีม Red Bull Racing Formula 1

รูปภาพจาก : https://www.world-today-news.com/adrian-newey-red-bull…/

Race Engineer

ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมมา เพื่อดึงศักยภาพสูงสุดจากรถและนักแข่งออกมา Race Engineer จะคอยวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในระหว่างช่วงที่มีการแข่งขัน และช่วงที่ไม่มีการแข่งขัน (การซ้อม) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะใช้ข้อมูลการขับในอดีตร่วมด้วยเพื่อนำมาปรับปรุง
สำหรับการแข่งขันในครั้งต่อๆไป

*ในภาพคือ Andrew Shovlin Engineering แห่งทีม Mercedes ใน Formula 1

รูปภาพจาก : https://www.monsterenergy.com/…/f1-insight-engineering…

Mechanics

ทีมช่างต้องอาศัยความรู้ ความสามรถในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ทั้งหมด โดยมีหัวหน้าทีมช่างเป็นผู้สั่งการ ซึ่งทีมช่างทุกคนต้องหมั่นฝึกฝนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและคอยเก็บเกี่ยวประสบการณ์อยู่เสมอ นอกจากนี้ต้องมีความรวดเร็วและแม่นยำในการทำรถโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่มีการแข่งขัน

รูปภาพจาก : https://f1i.com/magazine/402712-team-talk-imola-2021.html/4

ทำความรู้จักกับ “Hungaroring”

ก่อนจะระเบิดความมันส์กับศึก Formula 1 Hungarian Grand Prix 2021 ทำความรู้จักกับ Hungaroring กันก่อน วันนี้เรามีรายละเอียดข้อมูลของสนามมาแนะนำ

รูปภาพจาก : https://www.locationscout.net/…/22820-hungaroring-the…

Hungaroring เป็นสนามแข่งรถตั้งอยู่ใน Mogyoród ประเทศฮังการี ห่างจากใจกลาง Budapest ไปทางเหนือเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น

รูปภาพจาก : https://www.locationscout.net/…/22820-hungaroring-the…

สร้างขึ้นในปี 1985 เดิมทีทางรัฐบาลฮังการีได้วางแผนที่จะพัฒนา Nepliget Park สวนสาธารณะอันเก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดใน Budapest ให้เป็นสนามจัดการแข่งขัน Formula 1 โดยมีสนาม Circuit de Monaco เป็นต้นแบบ

รูปภาพจาก : https://www.locationscout.net/…/22820-hungaroring-the…

แต่ด้วยปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง อาทิ ภูมิทัศน์, การคมนาคม หรือสถานที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ในท้ายที่สุดจึงได้ตัดสินใจสร้างสนามแห่งนี้ขึ้นแทน ซึ่งใช้ระยะเวลาการสร้างเพียง 8-9 เดือนเท่านั้น

รูปภาพจาก : https://www.racingcircuits.info/…/hungary/hungaroring.html

และในปี 1986 Hungaroring ก็ได้ถูกบรรจุอยู่ในปฏิทินการแข่งขัน Formula 1 นับตั้งแต่นั้นมาจนถึง
ปัจจุบัน นอกจากนี้สนามยังรองรับการแข่งขันใหญ่อีกหลายรายการ เช่น Touring Car World Cup, International GT Open, European Truck Championship

รูปภาพจาก : https://maxf1.net/…/hungaroring-1986-piquet-passes…/

Hungaroring มีระยะทางต่อรอบ 4.381 กิโลเมตร ประกอบด้วยโค้งทั้งหมด 14 โค้ง เป็นการวิ่งแบบตามเข็มนาฬิกา มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับสนาม
โกคาร์ท เนื่องจากผังสนามประกอบไปด้วยทางตรงสั้นสลับกับโค้งที่มีอยู่หลายจุด และต้องการ Downforce สูง

รูปภาพจาก : https://www.formula1.com/…/information.hungary…

ภาพกราฟิกสนาม Hungaroring

รูปภาพจาก : https://www.hungariantourism.com/…/formula-1-eni…

ซึ่งปัจจุบัน Lewis Hamilton เป็นผู้ที่ทำสถิติของสนามแห่งนี้ไว้ด้วยเวลา 1:16.627 นาที ในปี 2020 เรามาร่วมลุ้นกันว่าในวันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคมนี้ สถิติของท่านเซอร์จะถูกทำลายหรือไม่?

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.formula1.com/en/racing/2021/Hungary/Circuit.html

https://hungaroring.hu/en/

https://www.racingcircuits.info/…/hungaroring.html…

รูปภาพจาก : https://www.formula1.com/…/article.what-time-is-the…

ทำความรู้จักกับ Formula E การแข่งขันเพื่ออนาคต ความเร้าใจในสไตล์รักษ์โลก

Formula E คือ การแข่งขันรถล้อเปิด ที่นั่งเดี่ยว ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% บรรจุให้เป็น 1 ในซีรีส์ของการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่จัดขึ้นภายใต้การดูแลของสหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA) ได้เริ่มจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2014 ในชื่อ ABB FIA Formula E Championship มีเป้าหมายเพื่อพัฒนารถแข่งควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยประเดิมสนามแรกที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนและได้จัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

รูปภาพจาก : https://electricvehicleweb.in/

ในช่วงการแข่งขันปี 2018-2019 ที่ผ่านมา รถแข่ง “Formula E Generation 2” ได้ถูกเปิดตัวและนำมาใช้ในการแข่งขัน โดยพัฒนาอัพเกรดขึ้นมาทั้งในเรื่องขนาดแบตเตอร์รี่และกำลังส่งของมอเตอร์ไฟฟ้า โดยแบตเตอร์รี่รุ่นใหม่นี้สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้ามากกว่ารุ่นเก่าถึง 2 เท่า อยู่ที่ 54 kWh ส่งผลให้นักแข่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรถระหว่างการแข่งขัน ส่วนมอเตอร์ก็แรงขึ้นอีก 50 kW สามารถทำความเร็วสูงสุดได้เพิ่มขึ้น ตัวถังก็ได้ถูกออกแบบใหม่และติดตั้ง Halo เพื่อระบบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นของนักแข่งในกรณีเกิดอุบัติเหตุ มาพร้อมแถบไฟ LED แสดงสถานะของโหมดการขับขี่อีกด้วย ปัจจุบันมีทีมเข้าร่วมถึง 12 ทีม ประกอบไปด้วยนักแข่ง 24 คน และรถแข่งอีก 24 คัน

รูปภาพจาก : https://formulaspy.com/

โดยกฎกติกาการแข่งขันคร่าวๆ มีดังนี้

Practice
ในทุกๆ สนามจะมีการซ้อมทั้งหมด 2 รอบ รอบแรกจะใช้เวลา 45 นาที รอบที่ 2 จะใช้เวลา 30 นาที แต่ละคันจะมีกำลังสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลวัตต์ นอกจากนี้การชาร์จไฟรถจะอนุญาตทำได้จนถึงในช่วงระหว่างรอบ Practice นี้เท่านั้น

Qualifying
ในรอบควอลิฟายจะมีเวลาให้ทั้งหมด 1 ชั่วโมง ซึ่งนักแข่งทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คัน แต่ละกลุ่มจะมีเวลา 6 นาทีในการทำเวลาให้เร็วที่สุด ผู้ที่ทำเวลาในรอบ Qualifying ได้เร็วที่สุดนั้นจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่มไป 1 คะแนน นอกจากนี้นักแข่งที่ทำเวลาเร็วที่สุด 6 อันดับแรกจะได้สิทธิเข้ารอบ Super Pole โดยในรอบ Super Pole นั้นนักแข่งที่ทำเวลาเป็นอันดับ 6 จะได้สิทธิออกวิ่งก่อนเมื่อนักแข่งอันดับที่ 6 วิ่งผ่านเส้นจับเวลา Pit Lane จะเปิดไฟเขียวให้นักแข่งที่ทำเวลาเป็นอันดับ 5 ออกไปวิ่งต่อ และทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอันดับ 1 ได้ออกวิ่ง และในรอบนี้ผู้ที่ทำเวลาเร็วที่สุดจะได้ตำแหน่ง Pole Position ไปพร้อมกับคว้า 3 คะแนน ซึ่งตลอดการควอลิฟายนักแข่งสามารถเรียกกำลังรถได้เต็มที่ 250 กิโลวัตต์

รูปภาพจาก : www.electrive.com

Races
การแข่งขัน หรือเรียกกันว่า E-Prix (อีปรีซ์) เป็นการออกตัวแบบ Standing Start จะไม่มีการวิ่ง Formation Lap เหมือนการแข่งขัน Formula 1 ซึ่งเริ่มแรกรถแข่งจะจอดอยู่บน Dummy Grid ก่อนที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ Gird Start ของตัวเอง เพื่อทำการออกตัว การแข่งขันจะใช้เวลา 45 นาทีบวก 1 รอบ สำหรับโหมดการแข่งขันรถแข่งจะให้กำลังสูงสุด 200 กิโลวัตต์ นอกจากนี้แล้วนักแข่งที่
สามารถทำ Fastest Lap ได้จะได้รับคะแนนพิเศษ 1 คะแนนมาครอง

รูปภาพจาก : www.schaeffler.com

Attack Mode
โหมดโจมตี เป็นโหมดที่นักแข่งจะต้องขับผ่านโซนพิเศษที่มีสัญลักษณ์บ่งบอกบนเส้นทางที่ใช้ในระหว่างแข่งขันเท่านั้น เมื่อนักแข่งใช้ Attack Mode จะมีไฟ LED ปรากฏอยู่บนบริเวณ Halo แสดงการทำงานของโหมดนี้อีกด้วย ซึ่งสามารถเพิ่มกำลังรถ และเพิ่มกลยุทธ์ในการใช้พลังงานได้ นักแข่งจะต้องใช้โหมดทั้ง Attack Mode และ Race Mode ขณะแข่งขัน โดยโหมดโจมตีทำให้นักแข่งสามารถเข้าถึงพลังงานสูงสุดที่ 235 กิโลวัตต์

รูปภาพจาก : www.speedcafe.com

Fan Boost
ถือเป็นอีกหนึ่งความแปลกใหม่ในวงการมอเตอร์สปอร์ตเลยทีเดียว เป็นการทำให้สาวก Formula E ได้มีส่วนร่วมของการแข่งขัน โดยที่แฟนคลับสามารถโหวตให้กับนักแข่งที่ตนเองชื่นชอบผ่านทาง Website ของ Formula E และนักแข่งที่ได้รับคะแนนนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรกจะได้รับอนุญาตให้ใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เรียกว่า Boost (บูสท์) ซึ่งจะสามารถใช้งานได้เพียงแค่ 5 วินาทีของครึ่งหลังในการแข่งขันเท่านั้น

รูปภาพจาก : https://edition.cnn.com/

ข้อมูลจำเพาะของรถ Formula E (Gen 2)

• Length 5160 mm

• Width 1770 mm

• Height 1050 mm

• Front track 1553 mm

• Rear track 1505 mm

• Ride height 75 mm (max)

• Wheelbase 3100 mm

• Minimum weight (include driver) 903 kg (battery 385 kg)

• Maximum power 250 kW, equivalent to 335 bhp

• Race Mode (maximum power available) 200 kW, equivalent to 270 bhp

• Maximum power regeneration 250 kW

• Maximum speed 280 km/h

• 0-100 km/h 2.8s

รูปภาพจาก : www.bmwblog.com

เนื่องจากว่ารถแข่ง Formula E สร้างมลภาวะทางเสียงและทางอากาศในปริมาณที่น้อยมากๆ การแข่งขัน Formula E จึงสามารถจัดการแข่งขันแบบ Street Circuit ในเมืองหลวงใหญ่ๆได้ ซึ่งทำให้คนดูสามารถเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น การแข่งขัน Paris E-Prix ที่จัดขึ้นใจกลางเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส รวมไปถึง London E-Prix จัดขึ้นที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ

รูปภาพจาก : https://racingnews365.com/

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.fiaformulae.com/

https://www.facebook.com/FormulaEThailand/?ref=page_internal

https://www.autoinfo.co.th/article/304825/

https://motortrivia.com/…/formula-e-2016-17-season…/

https://www.autoinfo.co.th/article/261219/

https://www.bangkokinternationalautosalon.com/auto…/2523/

รูปภาพจาก : https://f1i.com/

รูปภาพจาก : http://techzle.com/

ที่มาของธงตราหมากรุก #chequeredflag

ในการแข่งขันรถยนต์สัญญาณธงถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับนักแข่งที่ลงทำการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมการแข่งขัน เนื่องจากสัญญาณธงนั้นจะเป็นตัวบอกเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในสนาม รวมทั้งเป็นการสื่อสารระหว่างนายสนามกับนักแข่ง ซึ่งสัญญาณธงที่คุ้นตาที่สุดของท่านนั้นก็คือ ธงตราหมากรุกที่ใช้โบกสะบัดเมื่อเข้าเส้นชัยนั่นเอง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าธงตราหมากรุกนั้นมีที่มาจากไหน และเกิดขึ้นได้อย่างไร?

รูปภาพจาก : www.motorsportmagazine.com

รูปภาพจาก : www.thestar.com

ที่มาของธงตราหมากรุกนั้นไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างแน่ชัด แต่มีภาพถ่ายที่เก่าแก่อยู่ภาพหนึ่งจากปี 1906 ภายในภาพเป็นการใช้ธงตราหมากรุกสำหรับการเข้าเส้นชัยการแข่งขันรถยนต์ชิงถ้วย Vanderblit Cup จัดขึ้นที่ Long Island, New York อีกทั้งในปีเดียวกันนั้น พนักงานของ Packard Motor Car ที่ชื่อ Sidney Waldon ได้คิดค้นธงเพื่อทำเครื่องหมาย “Checking Stations” (ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “Check Points”) ในการจัดกิจกรรม Glidden Tour นี่คือสิ่งที่ยืนยันแน่ชัดว่า ในช่วงปี 1906 ได้มีการใช้ธงตราหมากรุกกันแล้ว ว่าแต่ก่อนหน้านี้ล่ะ? ต้นกำเนิดจริงๆเป็นอย่างไร?

รูปภาพจาก : www.reddit.com

มีสมมติฐานหนึ่งได้ให้ข้อมูลต้นกำเนิดของธง
ตราหมากรุกไว้ว่า มีการใช้ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ในกีฬาแข่งม้าของชาวอเมริกันที่เข้ามาตั้งรกรากในแถบมิดเวสต์ในยุคแรกๆ หลังจากจบงานจะมีการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ ซึ่งจะมีคนนำผ้าปูโต๊ะลายตารางหมากรุกมาโบกไปมา เป็นการส่งสัญญาณให้ทุกคนรู้ว่าการแข่งขันได้เสร็จสิ้นลงและอาหารสำหรับการเฉลิมฉลองนั้นพร้อมแล้ว

รูปภาพจาก : www.dailymail.co.uk

อีกหนึ่งสมมติฐานเชื่อว่า เริ่มแรกที่มีการแข่งขันรถยนต์นั้นจะจัดขึ้นบนทางลูกรัง อีกทั้งยังมีผู้คนมากมายที่เข้ามาร่วมชม จึงใช้ธงตราหมากรุกลายตารางสีขาว-ดำ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันทราบถึงการสิ้นสุดการแข่งขัน เพราะจะทำให้มองเห็นได้ชัดจากทางที่มีฝุ่นตลบเกิดขึ้นในระหว่างการแข่ง และแตกต่างจากสีชุดแต่งกายของผู้เข้าชมอีกด้วย

รูปภาพจาก : www.simplemost.com

ไม่ว่าธงตราหมากรุกจะถูกใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ ที่ไหน เราไม่อาจทราบข้อมูลที่แท้จริงได้ ความจริงของเรื่องนี้จะเป็นหนึ่งในความลึกลับและเป็นปริศนาที่คงอยู่ยาวนานที่สุดในกีฬามอเตอร์สปอร์ตต่อไป เราคงได้แต่ถกเถียงกันถึงข้อเท็จจริง แล้วแฟนๆ ชาวมอเตอร์สปอร์ตคิดอย่างไรกับเรื่องนี้กันบ้างครับ

รูปภาพจาก : www.thesun.ie

ขอบคุณที่มาข้อมูล :
https://www.windingroad.com/…/the-mysterious-origins…/

https://sites.google.com/…/his…/1906-checkered-race-flag

https://en.wikipedia.org/wiki/Racing_flags

https://www.simplemost.com/why-checkered-flag-used-end…/

https://matraxlubricants.com/3127-2/

Pretty vs Race Queen ถือกำเนิดครั้งแรกเมื่อใด?

หากพูดถึงงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์แล้ว สิ่งที่เป็นสีสันในงานนอกจากรถยนต์แล้วนั่นคือ “พริตตี้” นั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อ 34 ปีก่อน “Toyota” คือค่ายรถยนต์ค่ายแรกที่นำ “พริตตี้” มาเป็น 1 ในกลยุทธ์ทางการประชาสัมพันธ์ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ในแง่การตอบรับของ
สาธารณชนทั่วไป

รูปภาพจาก : www.grandprix.co.th

ด้วยเหตุนี้ในระยะเวลาไม่นานการมี “พริตตี้” จึงขยายความนิยมแพร่หลายไปอย่างมาก ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงยานยนต์เท่านั้น แต่ยังขยายฐานความนิยมไปยังสินค้าอื่นๆ มากมายอีกด้วย

รูปภาพจาก : https://hilight.kapook.com/

รูปภาพจาก : https://hilight.kapook.com/

เวลาดูการแข่งขันรถยนต์คุณคงเคยเห็นสาวสวยยืนกางร่มให้กับเหล่านักแข่งรถในทีมต่างๆ หลายคนคงเข้าใจว่าสาวสวยเหล่านี้ คือ “พริตตี้” แต่จริงๆ แล้วสาวสวยที่คอยมายืนกางร่มให้กับเหล่านักแข่งในสนามแข่งรถนี้เรียกว่า “เรซควีน”

รูปภาพจาก : https://aretcars.com/

เรซควีน (Race Queen) เป็นนิยามคำศัพท์ของชาวญี่ปุ่นที่กล่าวถึงสาวสวยที่เป็นลูกทีมในสนามแข่งรถ “เรซควีน” เริ่มมีบทบาทครั้งแรกในรูปแบบของสาวสวยประจำรายการแข่งขันรถยนต์ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนางแบบ “ริสะ โอกาวะ” ได้รับคำเชิญไปเป็นตัวแทนของการจัดการแข่งขันรถยนต์หลังจากนั้น “ริสะ โอกาวะ” จึงได้รับการประกาศอย่าง
เป็นทางการเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอว่า “เรซควีน” นั่นเอง

รูปภาพจาก : https://minkara.carview.co.jp/

เมื่อพูดถึง “พริตตี้” และ “เรซควีน” แล้ววันนี้ทางแอดจึงได้นำภาพของเหล่าบรรดาสาวสวยในทีมต่างๆ ของรายการ Thailand Super Series มาฝากทุกท่านกันครับ

บรรดาสาวสวยในทีมต่างๆ จากรายการ Thailand Super Series

เครดิตข้อมูลจาก :
https://th.wikipedia.org/wiki/เรซควีน
https://board.postjung.com/636150
https://www.thailandexhibition.com/News/5610

“Bangsaen Street Circuit, Thailand ” สนามแข่งรถ Street Circuit ที่ทั่วโลกต่างยกนิ้วให้เป็นสนามแข่งรถระดับเวิลด์คลาส คนรักความเร็วห้ามพลาด!! ต้องไปเยือนให้ได้ซักครั้งในชีวิต

อีกหนึ่งสนามที่จะพลาดไม่ได้เลย เพราะเป็นทั้งสนามแข่งและเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนของใครหลายๆ คนกับสนาม “Bangsaen Street Circuit” ได้รับมาตรฐาน FIA Grade 3

Circuit length 3.740 km.

Turns 20

ทิศทางการวิ่งเป็นแบบทวนเข็มนาฬิกา

สนามบางแสนเป็นสนามแข่งประเภทสตรีท เซอร์กิตระดับสากลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ได้รับการรองรับจากสมาพันธ์ยานยนต์นานาชาติ หรือ FIA ให้เป็นสนามประเภท FIA Grade 3 ซึ่งจัดว่าเป็นสนามที่มีความพร้อมในการจัดการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบระดับสากลหลายรายการ

ไม่ว่าจะเป็น Porsche Carrera Cup Asia, TCR Asia รวมไปถึงเป็นสนามไฮไลท์ของรายการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย Thailand Super Series

สนามบางแสนใช้เส้นทางการจราจรผ่านชายหาดบางแสน-แหลมแท่น-เขาสามมุข ทำให้สนามแห่งนี้มีจุดเด่นในเรื่องของวิวทิวทัศน์ที่ติดกับชายทะเล นอกจากนั้นแล้วด้วยความกว้างของแทร็คที่จำกัด ประกอบกับโค้งหลายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโค้งแฮร์พิน (โค้งยู-เทิร์น) T6 และ T18-T19, โค้งความเร็วสูง (โค้งไฮสปีด) ที่มีอยู่หลายโค้ง, โค้งหักศอก T8 และ T15 รวมทั้งโค้งปราบเซียนสุดโหดที่พื้นผิวถนนเทออกจากโค้ง (Off Camber) T17

อีกทั้งนักแข่งยังต้องเจอกับความท้าทายกับ Elevation ระดับความสูงสุด T4 และต่ำสุด T18 ของสนามที่แตกต่างกันถึง 23.65 เมตร และการ Jump ของพื้นถนนจนทำให้รถลอยได้ใน T3

ประกอบกับทางผู้จัดการแข่งขันได้มีการเพิ่มความปลอดภัยของสนามให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสมาพันธ์ยานยนต์อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องจึงทำให้สนามแห่งนี้กลายมาเป็นสนามแข่งขันประเภทสตรีทชั้นนำที่ทุกท่านต้องมาเยือนซักครั้งให้ได้

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้สนามบางแสนเป็นสตรีท เซอร์กิตที่มีความท้าทายและเป็นที่ชื่นชอบของทั้งนักแข่งและผู้ชมทั่วโลก เพราะนอกจากสนามที่มีความสวยงามติดอันดับโลกแล้ว ยังมีทัศนียภาพของเมืองบางแสน และโรงแรมที่สวยงามรองรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวจากทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางทะเลที่ทุกคนพลาดไม่ได้ และที่สำคัญที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยคืออาหารทะเลที่สด รสชาติอร่อย รวมทั้งของฝากจากบางแสน
ที่ทุกคนต้องมีติดไม้ติดมือกลับไปทุกครั้ง

MV Bangsaen Street Circuit เมื่อปี 2019 ดูเล่นแก้คิดถึงกันไปก่อน