“หนึ่งรอบ Monza!! กับปรีดา ตันเต็มทรัพย์”วิเคราะห์และแนะนำแบบ Virtual กับสนามแข่งรถที่เก่าแก่อีกหนึ่งสนามในประเทศอิตาลีโดยพี่ปรีดา ก่อนที่จะมีการแข่งขันสนามแรกของรายการ DTM ที่มีนักแข่งคนไทยอย่าง “อเล็กซ์ อัลบอน อังศุสิงห์” ร่วมทำการแข่งขัน ในวันที่ 18-20 มิถุนายนนี้ ไปชมกัน.. #ปรีดาทอล์ค
Category: TSS LIBRARY
ก่อนที่ DTM จะเริ่มแข่งขัน เรามารู้จักสนามแข่งรถประวัติศาสตร์ชื่อว่า “Monza” กันก่อน..
Autodromo Nazionale di Monzaเป็นสนามแข่งรถประวัติศาสตร์อยู่ใกล้เมืองของมอนซา ตอนเหนือของมิลานในอิตาลี สร้างขึ้นในปี 1922 มันเป็นสนามอันดับสามของโลกที่เป็นสนามแข่งรถเซอร์กิตต่อจากที่บรู๊คแลนด์และอินเดียนาโพลิส การแข่งขันเซอร์กิตที่ใหญ่ที่สุดคือ อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ การแข่งขันได้จัดขึ้นที่นี่ตั้งแต่ปี 1949 ซึ่งถูกยกเว้นการแข่งขันในปี 1980

ความยาวของสนามมีสามรูปแบบ โดยมีระยะทางที่ 5.793 กิโลเมตร (3.600 ไมล์) กรังปรีซ์แทร็ค, 2.405 กิโลเมตร (1.494 ไมล์) จูเนียร์แทร็ค และสนามวงรี 4.250 กิโลเมตร (2.641 ไมล์) ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานมานานหลายสิบปีและกลับมาได้รับการปรับปรุงในปี 2010

นอกเหนือไปจากการแข่งขันรถสูตรหนึ่งหรือFormula 1 ที่สนามแห่งนี้แล้ว ยังจัดรายการอื่นๆมากมายเช่น 1000 km Monza ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบ Endurance จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ World Sportscar Championship และ Le Mans Series

สนามแข่งยังจัดแข่ง Grand Prix motorcycle racing , WTCC, TCR International Series, Superbike World Championship, Formula Renault 3.5 Series , Auto GP และ ที่สนามมอนซายังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันปั่นจักรยานและวิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการ Monza 12h Cycling Marathon และ Monza 21 Half Marathon

ที่สำคัญและน่าติดตามที่สุดคือรายการ DTM สนามแรกของปีนี้ เริ่มขึ้นที่นี้ Autodromo Nazionale di Monza โดยใช้ระยะทาง 5.793 กิโลเมตรต่อรอบ มีโค้ง 11โค้ง ทางตรงยาวสุดคือ 1.280กิโลเมตร โดยการแข่งขันครั้งนี้มีนักแข่งลูกครึ่งไทย-อังกฤษ ลงแข่งขันด้วยคือ Alex Albon นั่นเอง ในนามของทีม Alpha Tauri AF Corse
ขอบคุณที่มาข้อมูล : https://en.wikipedia.org/wiki/Monza_Circuit

มาทำความรู้จักการแข่งขันรถยนต์ “DTM”
การแข่งขันรถยนต์ DTM มาจากคำว่า Deutsche Tourenwagen Masters หรือ German Touring Car Masters เป็นรายการแข่งรถทางเรียบรุ่น Touring Car ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเยอรมัน ได้รับการรับรองโดย ITR e.V. ต้นสังกัดจาก DMSB-FIA มาตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งเคยมีนักขับที่ประกาศอำลาวงการ Formula 1 แล้ว มาเข้าร่วมชิงชัยในรายการนี้หลายต่อหลายคน อาทิ Mika Hakkinen อดีตแชมป์โลกชาวฟินแลนด์, Jean Alesi นักซิ่งฝรั่งเศส


DTM เป็นการแข่งขันที่แต่ละสนามนั้นจะตระเวนไปทั่วภาคพื้นทวีปยุโรปประมาณร้อยละ 60 และร้อยละ 40 ที่เหลือจะอยู่ที่เยอรมัน ในปัจจุบันรถยนต์ที่เข้าแข่งขันนั้นจะเป็นรถรุ่น GT3 ตามกฎระเบียบของ FIA จากเดิมเป็นรถ Class One โดยอนุญาตให้มีรถเข้าร่วมการแข่งขันได้เพียงแค่ 18 คันเท่านั้น

รูปแบบการแข่งขัน DTM นั้นได้มีการปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งจนกระทั่งในปี 2019 หลังจากเปิดฤดูกาลจึงได้บทสรุปรูปแบบการแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด คือ 55 minutes plus 1 lap

สำหรับการออกตัวนั้นจะเป็นแบบ Rolling Start ในช่วงการเปลี่ยนยางนั้นอนุญาตให้มีทีมช่างได้สูงสุดไม่เกิน 6 คน ซึ่งจะใกล้เคียงกับการแข่งขันในรุ่น Thailand Supercar GT3 และ GTM เป็นอย่างมากแต่จะแตกต่างตรงที่การแข่ง DTM นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนตัวนักแข่งนั่นเอง

ในปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะมีนักแข่งสัญชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน นั่นคือ Alex Albon ในสังกัด Alpha Tauri AF Corse ด้วยรถแข่ง Ferrari 488 GT3 ซึ่งจะมีการแข่งขันสนามแรกในวันที่ 18-20 มิถุนายนนี้ ณ สนาม Monza ประเทศอิตาลี ร่วมติดตามเชียร์ยอดนักแข่งชาวไทยไปพร้อมๆ กันได้ทาง Facebook Fanpage : Thailand Super Series
เจาะลึกถึงข้อมูลจำเพาะ Formula 4
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ Formula 4 กันแล้ว มาในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงข้อมูลจำเพาะของรถ Formula 4 ที่ “น้องเติ้น ทัศนพล อินทรภูวศักดิ์” ลงทำการแข่งขันในรายการ British F4 กันบ้างครับ

• Chassis : FIA Homologated Carbon Monocoque
• เครื่องยนต์ : Ford EcoBoost ขนาด 1.6 ลิตร ให้กำลังสูงสุดประมาณ 160 แรงม้า
• ระบบส่งกำลัง : 6 Speed Sequential Gearbox with Paddle Shift

• เบรก : 2 Piston Calipers
• ช่วงล่าง : Double wishbones and pushrods, twin adjustable dampers, adjustable anti-roll bar
• ระบบความปลอดภัย : เป็นไปตามมาตรฐาน FIA โครงสร้างดูดซับแรงกระแทกทั้งด้านหน้า และด้านหลัง, ป้องกันการยุบตัวของตัวรถ, Roll Hoops, removable seat, head restraint, wheel restraint cables, accident data recorder, อุปกรณ์ดับเพลิง, retractable steering wheel and column

• อากาศพลศาสตร์ : ปีกหน้า และหลังสามารถปรับได้
• ขนาดรถ : 4340 x 1750 x 950 mm

• ล้อหน้า : 8″ x 13″
• ล้อหลัง : 10″ x 13
ขอบคุณข้อมูลจาก http://fiaformula4.com/
มาทำความรู้จักกับสนามแข่งรถ Snetterton Circuit
สนาม Snetterton เป็นสนามแข่งรถที่ตั้งอยู่ใน Norfolk ประเทศอังกฤษ แต่เดิมนั้นเป็นสนามบินของกองทัพอากาศในช่วงปี 1943-1948 และได้สร้างสนามขึ้นในปี 1951 จากรันเวย์ที่เหลืออยู่ ระยะทางของสนามนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้งในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปี 2010 เมื่อ MSV เจ้าของสนามแข่งประกาศปรับปรุงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โดยแล้วเสร็จในปี 2011 และได้จัดกิจกรรมที่สำคัญมากมายในช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ทดสอบที่มีชื่อเสียง และพัฒนารถแข่งที่ได้คว้าชัยชนะไว้หลายคัน

สนาม Snetterton เป็นหนึ่งในสนามแข่งรถที่ดีที่สุดของสหราชอาณาจักร ไม่ใช่แค่สำหรับนักแข่งเท่านั้น แต่สำหรับผู้ชมด้วย เนื่องจากสนามแห่งนี้ผสมผสานรูปแบบความท้าทาย และซับซ้อนเข้าไว้รวมกัน บวกกับสภาพภูมิทัศน์ที่ดีที่สุดในสนามอีกด้วย ภายในสนามนั้นแบ่งได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน
• Snetterton 300 ออกแบบโดย Jonathan Palmer ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่แข่งรถชั้นนำของโลกหลายแห่ง เป็นสนามแข่งที่ยาวที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองรับการแข่งขันระดับนานาชาติด้วยมาตรฐาน FIA Grade 2
• Snetterton 200 ยังรักษารูปแบบของสนามบินไว้คงเดิม ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีโอกาสแซงได้ดีขึ้น ใช้สำหรับการแข่งขันรถยนต์ในระดับคาร์คลับ และการแข่งขันรถยนต์ในประเทศ
• Snetterton 100 ใช้สำหรับการทดสอบ และการสอนขับรถยนต์ ซึ่ง Snetterton 200 และ Snetterton 100 นั้น สามารถใช้ร่วมกันได้

นอกจากนี้ชื่อโค้งต่างๆ ภายในสนามยังได้นำมากชื่อของบุคคลสำคัญในวงการมอเตอร์สปอร์ต อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น Giacomo Agostini บุคคลอันเป็นตำนานสองล้อ ไปจนถึง Superstar ของ F1 อย่าง Lewis Hamilton อีกด้วย



ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.snetterton.co.uk/circuit-information.aspx
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.webbaviation.co.uk
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Formula 4 กัน
การแข่งขัน Formula 4 นั้นเป็นการแข่งขันรถล้อเปิดที่ถูกสร้างขึ้นโดย Fédération Internationale de l’Automobile (FIA) หรือ สหพันธยานยนต์นานาชาติ โดย Gerhard Berger อดีตนักแข่งรถ Formula 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธาน FIA Single-Seater Commission

การแข่งขันรุ่นนี้ถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยกับผู้ที่ไม่เคยขับรถสูตรมาก่อน อีกทั้งยังออกแบบมาให้มีต้นทุนน้อยที่สุด แต่มีความปลอดภัยมากที่สุด

การแข่งขัน Formula 4 เป็นการแข่งขันที่อนุญาตให้นักแข่งเยาวชนที่อายุระหว่าง 15 – 19 ปี ลงทำการแข่งขันเท่านั้น

ซึ่งการแข่งขัน Formula 4 จะเป็นการแข่งขันที่อยู่ระหว่างการแข่งขันรถคาร์ท และ Formula 3 โดยการแข่งขัน Formula 4 ครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นในปี 2014 มีการใช้กฎข้อบังคับตามมาตรฐาน FIA ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัย หรือ ใบอนุญาตขับขี่รถแข่ง

ซึ่งการแข่งขัน Formula 4 นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นโปรแกรมการแข่งขันที่พัฒนานักแข่งเยาวชนที่ดีที่สุดในโลก ที่สำคัญการแข่งขันในรายการนี้ยังสามารถเก็บสะสมแต้ม FIA F1 Super License ได้อีกด้วย

ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยเรามี “น้องเติ้น ทัศนพล อินทรภูวศักดิ์” จาก AAS Motorsport เป็นนักแข่งตัวแทนชาวไทย ลงทำการแข่งขันในรายการ British Formula 4 ที่เพิ่งจบสนาม 4-6 เมื่อวันที่ 11-13 มิถุนายนที่ผ่านมาที่สนาม Snetterton ประเทศอังกฤษ ฝากติดตามส่งกำลังใจเชียร์นักแข่งคนนี้เพื่อจะได้สร้างชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย

เตรียมความพร้อม ก่อน การแข่งขัน “Endurance”
การแข่งขันรถยนต์นั้นต้องอาศัยความพร้อม ความสามัคคี และความสามารถของรถแข่ง, นักแข่ง และทีมงาน เป็นอย่างมากกว่าที่จะให้สามารถขึ้นไปอยู่บนโพเดียม ซึ่งถือเป็นความสำเร็จสูงสุดนั้นได้ ยิ่งโดยเฉพาะการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบแบบมาราธอนอย่างรายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้ความทนทานของรถยนต์ ความอดทนของนักแข่งทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทีมงานทุกคนที่ต้องเตรียมความพร้อมตลอดการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย วันนี้เรามาเรียนรู้เคล็ดลับขั้นพื้นฐานของเหล่าบรรดานักแข่งในการเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันกัน

อันดับแรก การเตรียมความพร้อมของร่างกาย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเช็คร่างกายของคุณก่อนลงสนามทุกครั้ง ยิ่งนักแข่งที่อายุมากยิ่งต้องเช็คร่างกายให้ละเอียด โดยเฉพาะความดัน และหัวใจ

อันดับที่ 2 เมื่อร่างกายพร้อมแล้ว ใจคุณต้องพร้อมด้วย การเตรียมพร้อมว่าในสนามเราต้องเจอกับใคร สถานการณ์อย่างไร และสิ่งที่สำคัญสุดคือ สติ ต้องมีอยู่เสมอ เมื่อเจอปัญหา หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เรื่องเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจนั้นอาศัยการฝึกซ้อมจะทำให้เกิดประสบการณ์ และการเรียนรู้มากขึ้น

อันดับที่ 3 การเตรียมความพร้อมของรถที่จะใช้เข้าแข่งขัน รถที่ดีไม่ใช่แค่แรงหรือเร็ว ไม่ใช่แค่ยี่ห้อหรือรุ่นรถ แต่รถที่ดีนั้นจะต้องเป็นรถที่เข้ากับคนขับได้ ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับนักแข่งให้ได้นั่นเอง

อันดับที่ 4 การเตรียมความพร้อมเรียนรู้สนาม การรู้จักสนามที่เราจะไปแข่ง ศึกษาสนามในแต่ละจุด มีโค้งตรงไหน พื้นผิวสนามแข่งเป็นเช่นไร ยิ่งหากคุณไม่เคยได้สัมผัสกับสนามนั้นมาก่อนยิ่งต้องศึกษาข้อมูลให้มากที่สุด

อันดับที่ 5 การเตรียมความพร้อมเรียนรู้ และรับมือกับนักแข่งคนอื่นที่เข้าร่วมการแข่งขัน การรู้จักนักแข่งที่เข้าร่วมกรแข่งขันกับเราถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่ง เพราะเราจะทราบถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของผู้ที่จะมาชิงโพเดียมกับเรา

อันดับที่ 6 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย การเตรียมความพร้อมของสมาชิกทุกคนในทีม ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในทีม ถือแรงขับเคลื่อนที่ดีที่สุดที่ทำให้การแข่งขันสามารถฝ่าฟันทุกอย่าง และผ่านธงหมากรุกได้ การมีสมาชิกในทีมช่างที่มีคุณภาพ และมีความสามัคคีกันนอกจากจะได้รถที่สภาพพร้อม 100% แล้วยังช่วยทำให้นักแข่งเองมันใจ และสภาวการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนสนามแข่งได้เป็นอย่างดี

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเคล็ดลับเล็กน้อย ที่จะพาสิงห์นักแข่งทั้งหลายไปสู่เส้นชัยได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด การฝึกฝนเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งมีประสบการณ์มากขึ้นเท่านั้น ในวันที่ 4-6 มิถุนายนนี้ชาวไทยทุกคนมาร่วมลุ้น และส่งกำลังใจเชียร์ Toyota Gazoo Racing Team Thailand ทีมแข่งรถสัญชาติไทยทีมแรก และทีมเดียวในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบแบบเอนดูรานซ์รายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring 2021 ไปพร้อมๆกันได้ทาง Facebook Fanpage : Thailand Super Series
“Endurance” การแข่งขันแบบนี้คืออะไร?
“Endurance”
หลังจากที่เราไปทำความรู้จักถึงความเป็นมาของการแข่งขันรายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบเอนดูรานซ์กันแล้ว วันนี้เรามาดูกันบ้างว่าการแข่งขันแบบนี้คืออะไร?

การแข่งขันแบบเอนดูรานซ์ เป็น 1 ในประเภทของการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบแบบ Circuit (วิ่งวนรอบสนาม) เป็นการแข่งขันแบบระยะยาวที่มีขึ้นเพื่อทดสอบความทนทานของรถยนต์ ความอดทนของนักแข่งทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทีมงานทุกคนที่ต้องเตรียมความพร้อมตลอดการแข่งขัน

ซึ่งการแข่งขันประเภทนี้ไม่ได้ถูกกำหนดเป็นจำนวนรอบของสนาม แต่จะกำหนดเป็นรูปแบบของระยะเวลาแทน โดยมีตั้งแต่ 4, 6, 8, 12 ไปจนถึง 24 ชั่วโมง โดยผู้ที่ทำรอบการแข่งขันได้มากที่สุด เมื่อถึงเวลาที่กำหนดจะเป็นผู้ที่คว้าชัยชนะไป

การแข่งรถประเภทนี้จึงเป็นบทพิสูจน์ถึงความสามารถของรถแข่ง, นักแข่ง และทีมงานได้เป็นอย่างดี เพราะความแตกต่างเพียงแค่ไม่กี่วินาทีนั้น อาจบ่งบอกถึงผลการแข่งขันได้เลยทีเดียว

ในวันที่ 4-6 มิถุนายนนี้เรามาร่วมลุ้น และเชียร์ Toyota Gazoo Racing Team Thailand ทีมแข่งรถสัญชาติไทยทีมแรก และทีมเดียวในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบแบบเอนดูรานซ์รายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring 2021 ได้ทาง Facebook Fanpage : Thailand Super Series
พิชิตสุดยอดสนามแข่งระดับตำนานกับรายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring 2021
หลังจากที่เราได้พาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ นูเบิร์กริง สนามที่โหดที่สุดของโลกซึ่งได้รับฉายาเรียกขานว่า “Green Hell” หรือ “นรกสีเขียว” กันแล้ว มาในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จัก และร่วมกันนับถอยหลังสู่การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบแบบเอนดูรานซ์ รายการยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก นั่นคือ รายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring กันบ้าง

ADAC Total 24h Race Nürburgring เป็นรายการแข่งขัน 24 ชั่วโมงติดอันดับ 1 ใน 3 ของรายการเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ที่จัดขึ้นโดยสมาพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศเยอรมนี (ADAC – Allgemeiner Deutscher Automobil Club) ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเหล่าผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำจากทั่วโลกส่งรถโปรดัคชั่นคาร์เข้าร่วมแข่งขัน

เพื่อเป็นการแสดงถึงศักยภาพและสมรรถนะของตัวรถ ที่สามารถวิ่งได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายใต้สภาวะการขับขี่อันแสนหนักหน่วง จากฝีมือและผีเท้าของนักแข่ง ด้วยเส้นทางแข่งขันที่มีระยะทางยาวถึง 26 กิโลเมตร มีโค้งที่ท้าทายและอันตรายมากถึง 73 โค้ง

รายการ ADAC Total 24h Race Nürburgring แบ่งประเภทรถสำหรับการแข่งขันออกเป็น 2 แบบหลักๆ ได้แก่ SP หรือ Super Production รถที่ทำขึ้นมาพิเศษสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะ และ V รถโปรดัคชั่นคาร์ที่กำลังวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด โดยปีนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ส่ง Toyota Gazoo Racing Team Thailand

ภายใต้การนำทีมของ “พี่อรรถ สุทธิพงศ์ สมิตชาติ” ทีมแข่งรถสัญชาติไทยทีมแรก และทีมเดียว ลงทำการแข่งขันเพื่อป้องกันแชมป์ในรุ่น SP3 ด้วยรถ Toyota Corolla Altis GR Sport จำนวนทั้งหมด 2 คัน
ร่วมติดตามเป็นกำลังใจให้กับ Toyota Gazoo Racing Team Thailand ในการแข่งขัน ADAC Total 24h Race Nürburgring 2021 ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายนนี้
ได้ที่ Facebook Fanpage : Thailand Super Series

หลังจากที่เราได้แนะนำ สนามนูร์เบอร์กริงไปแล้วนั้น เราก็ขอแนะนำภาพยนต์เรื่อง Rush เพื่อจะทำให้ทุกท่านให้ได้รับอรรถรส
หลังจากที่เราได้แนะนำ สนามนูร์เบอร์กริง สนามแข่งขันรถยนต์ที่มีชื่อเสียงติด 1 ใน 3 ของโลก และยังได้รับการขนานนามว่า “สุดโหด” อีกทั้งยังเป็นสนามที่มีเรื่องราวน่าประทับใจ และเรื่องน่าเศร้าใจในที่ที่เดียวกัน
มาวันนี้เราขอแนะนำภาพยนต์เรื่อง Rush เพื่อจะทำให้ทุกท่านให้ได้รับอรรถรส และเข้าถึงการแข่งขันในสนามนูร์เบอร์กริงมากยิ่งขึ้น

ภาพยนต์เรื่อง Rush ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นความทรงจำของเหล่ามอเตอร์สปอร์ตผู้ที่ชื่นชอบความเร็ว ภาพยนต์เรื่องนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริง เป็นเรื่องราวของนักแข่ง F1 สองคน ระหว่าง เจมส์ ฮันท์ และ นิกิ เลาด้า ที่ไม่ลงรอยกันแต่ทั้งคู่นั้นต่างก็เป็นแรงผลักดันให้กัน ฮันท์ และเลาด้านั้นเป็นนักแข่งที่มีมุมมอง และนิสัยใจคอต่างกันสุดขั้ว

ฮันท์เป็นพวกประเภทที่บ้าระห่ำไม่กลัวตาย

ส่วนเลาด้า เป็นคนฉลาดมีพรสรรค์ด้านการวางแผน ปรับปรุงเครื่องยนต์ และตารางทุกอย่างต้องเป๊ะ พวกเขาทั้งสองต่างเป็นแชมป์โลกที่โด่งดังที่สุดในอดีต ทุกสนามที่พวกเขาลงแข่งก็ได้สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวขานกันเรื่อยมา

ในปี 1976 ถือเป็นยุคทองของการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันก็ว่าได้ และพวกเค้าสองคนนี้ถือเป็นสีสันหลักในการแข่งขันทัวร์นาเมนต์นี้เลย

หลังจากที่เลาด้าได้ชมภาพยนตร์ที่มีตัวเขาเองเป็นตัวหลัก ก็ได้ออกมาชมว่า ทำบรรยากาศได้สมจริงมาก โดยเฉพาะไฮไลท์สำคัญในสนามนูร์เบอร์กริง ที่ตัวเองประสบอุบัติเหตุไฟคลอกก่อนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลให้แพทย์ยื้อชีวิต

เลาด้า กล่าวในงานเปิดตัวภาพยนตร์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำได้สมจริงมาก บอกได้เลยว่าผมดูแล้วช็อคทีเดียวเมื่อเห็นฉากที่ตัวผมอยู่ในโรงพยาบาล มันทำให้รู้สึกขนลุก และเห็นได้ชัดว่าแพทย์พยายามทำทุกอย่างแบบสุดความสามารถเพื่อช่วยชีวิตผม”

Niki Lauda ตำนานแชมป์ Formula 1 สามสมัย

ขณะเดียวกัน แชมป์โลก F1 3 สมัย กล่าวยังรู้สึกคิดถึง เจมส์ ฮันท์ คู่แข่งร่วมวงการอยู่ตลอดเวลา แม้อีกฝ่ายจะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี 1993 ด้วยอาการหัวใจวายในวัย 45 ปี “ผมหวังว่า เจมส์ จะมาอยู่ด้วยกันในค่ำคืนนี้

นี่คือวันที่ดีวันหนึ่งของผม” และหลังจากภาพยนต์เรื่องนี้เข้าฉายได้เพียง 5 ปี นิกิ เลาด้า ก็ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562

ฉากการแข่งขันระหว่าง เจมส์ ฮันท์ และ นิกิ เลาด้า ในภาพยนต์เรื่อง Rush

ฉากการแข่งขันในภาพยนต์เรื่อง Rush

อีกหนึ่งเรื่องที่เป็นความทรงจำของเหล่ามอเตอร์สปอร์ตผู้ที่ชื่นชอบความเร็ว ใครว่างๆ ไปหาชมกัน ดูซ้ำได้หลายรอบ สนุกจริงๆเรื่องนี้ #RUSH